ทฤษฎีที่ใช้
- ทฤษฎีเรื่องค่าเสียโอกาส : นักลงทุนมีค่าเสียโอกาสเป็นผลผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k ถ้าโครงการลงทุนให้ผลตอบแทนน้อยกว่าผลตอบแทนที่คาดหวังก็จะไม่ลงทุน นั่งกระดิดตีนรับผลตอบแทนที่แน่นอนเท่ากับ k ดีกว่า
- มูลค่าของเงินตามเวลา future value, present value
- การตัดสินในลงทุนด้วย NPV
ถ้าให้บริษัทแห่งหนึ่งมี กำไรคงที่เท่ากับ E ราคาหุ้นวันนี้ซื้อขายที่ P และนักลงทุนมีผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k จะสามารถคิดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดได้เท่ากับ
- นักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนเมื่อ NPV > 0 เพราะจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง
- นักลงทุนจะไม่ตัดสินใจลงทุนเมื่อ NPV < 0 เพราะจะทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนน้อยกว่าผลตอบแทนที่คาดหวัง
- นักลงดังนั้นนักลงทุนจะยอมซื้อหุ้นตัวนี้สูงสุดที่ระดับราคาที่ทำให้ NPV = 0
ให้ NPV = 0
สมการที่ 3 บอกว่าถ้าบริษัทแห่งหนึ่งมีกำไรคงที่เท่ากับ E ไปตลอดกาล นักลงทุนมีผลตอบแทนที่คาดหวังเท่ากับ k นักลงทุนคนนี้จะยอมซื้อหุ้นตัวนี้ที่ราคาสูงสุดกี่เท่่าของกำไร
วิธีการใช้งาน
- ใช้หาหุ้นถูก สมมติตลาดต้องการผลตอบแทนเท่ากับ 10% ดังนั้น PE ที่เหมาะสมของหุ้นตัวใดๆจะเท่ากับ 1/0.1 = 10 เท่าของกำไร เนื่องจากค่า PE เป็นค่าอัตราส่วนทำให้สามารถนำค่านี้มาเปรียบเทียบกันได้ดังนั้นถ้าหุ้นตัวไหนที่ PE < 10 แปลว่าหุ้นตัวนั้นถูกเพราะให้ผลตอบแทนจากการลงทุนมากกว่าที่คาดหวัง (10%) ซึ่งเราสามารถแสกนหุ้นที่ PE < ค่าที่ต้องการได้ที่ เว็ป siamchart.com/stock ครับ
- ใช้หาราคาเป้าหมาย ราคาเป้าหมาย = EPS x PE เช่นเราคาดว่าปีนี้หุ้นจะมี EPS = 3 บาท จะได้ราคาเป้าหมายเท่ากับ 3 x 10 = 30 เป็นต้น
ข้อควรระวัง
- สมมติฐานของ PE คือกำไรคงที่ดังนั้นการใช้ PE ไปวัดหุ้นวัฎจักรหรือหุ้นที่กำไรผันผวนก็คงไม่เหมาสมนัก ในทางปฎิบัติจะใช้ตัวคูณที่ต่ำไว้ก่อน
- หรือการใช้วัดหุ้นที่ มี growth ในอนาคตมากๆ ก็คงไม่เหมาะนัก เซียนหลายท่านจึงตัดสินใจลงทุนโดยใช้ PEG ช่วย
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม