วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการอ่านงบการเงินให้เข้าใจ

บทความจาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล [1] เขียนอธิบายเทคนิคการอ่านงบการเงินให้เข้าใจ ได้อ่านง่ายมากครับ เยี่ยมจริงๆ เชิญอ่านโดนพลัน

การอ่านงบการเงินให้เข้าใจต้องมีมุมมองของนักบัญชีเป็นส่วนประกอบด้วย (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) และต้องมองงบการเงินว่ามาจากการทำกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจ (Economic Activities) และแบ่งความแตกต่างระหว่างสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของได้ เข้าใจหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ค่าใช้จ่าย เข้าใจถึงหลักสมมติฐานเบื้องต้นของการจัดทำงบการเงินว่าใช้หลักเกณฑ์คงค้างหรือเกณฑ์สิทธิ์และหลักการดำรงอยู่ (Going Concern) สิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจลงลึกในใจคือสมการบัญชีที่เป็นจริงเสมอ อะไรจะโยกย้ายไปด้านไหน สมการบัญชีต้องเป็นจริงเสมอ และงบการเงินไม่ว่าจะนำเสนออย่างใด สมการบัญชีต้องคงที่เสมอ

  • สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

การเปลี่ยนแปลงรายการในงบดุลระหว่างงวด เป็นผลจากหรือทำให้เกิดงบกำไรขาดทุนตามภาพที่ 1
การเปลี่ยนแปลงรายการในงบดุลระหว่างงวด เป็นผลจากหรือทำให้เกิดงบกำไรขาดทุน


แนวคิดทางบัญชีปัจจุบันนำเสนองบการเงินบนแนวคิด Balance Sheet Approach นั่นคือถ้ามูลค่าหรือการวัดมูลค่างบดุลถูกต้อง งบกำไรขาดทุนก็จะถูกต้อง โดยการรับรู้กำไรขาดทุนระหว่างงวดเป็นไปตามทฤษฎีการรักษาระดับทุน (Capital Maintenance) แต่นั่นไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับการวิเคราะห์งบการเงิน เพราะในเบื้องต้นนั้นงบการเงินที่จะนำเข้ามาใช้ในการวิเคราะห์ควรต้องน่าเชื่อก่อน นั่นคือต้องผ่านการตรวจสอบหรือผู้ใช้งบการเงินเชื่อมั่นระดับหนึ่งว่า งบการเงินได้มีการจัดเตรียมและนำเสนออย่างถูกต้องตามควรถ้างบนำเสนอไม่ถูกต้อง ผลการวิเคราะห์ก็ไม่ถูกต้อง
เมื่อแนวคิดทางบัญชีนำเสนอบนหลักของ Balance Sheet Approach การอ่านงบดุลจึงให้มุมมองในอีกมิติ ที่งบกำไรขาดทุนไม่สามารถชี้ภาพของธุรกิจได้ทั้งหมด

ข้อสังเกต เดบิตและเครดิตทางบัญชีอาจจะอธิบายได้ยาก บางคนอาจสรุปง่ายๆ ว่า คือ ซ้ายกับขวา ซ้ายเป็นด้านสินทรัพย์และค่าใช้จ่าย ขวาเป็นการบันทึกด้านหนี้ ทุน รายได้ เท่านี้หรือ ไม่ได้ต่อยอดความรู้อะไรเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงกับนิยามตามแม่บทการบัญชีและหลักทางการเงินไม่ได้เลย แต่ถ้าเปลี่ยนใหม่มามองว่า เดบิตและเครดิต คือ ด้านการบันทึกแหล่งที่ใช้ไปของทุนและที่ได้มาของทุน เราจะเห็นภาพเชื่อมโยงทั้งหมดระหว่างบัญชีและการเงิน แม้แต่นิยามสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ ค่าใช้จ่าย ตามแม่บทการบัญชีก็สอดคล้องด้วยเช่นกัน
เดบิต - เครดิต

ในแง่ของนักลงทุน ไม่ต้องรู้ลึกถึงวิธีการลงบัญชีหรืองมาตรฐานการบัญชีให้ลึกนัก แต่ให้รู้หลัการหลักๆ ว่ากิจกรรมที่เกิดขึ้นนั้นต้องแสดงอย่างไรในงบการเงิน ย้ำนะครับว่าแสดงอย่างไร ดังนั้นรายการนั้นๆ ก็เพียงแต่จัดว่าเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน หรือส่วนทุน จึงต้องให้เข้าใจสมการบัญชีให้ลึกซึ้งสำคัญที่สุด รู้ว่ารายการต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นอะไร สินทรัพย์ หนี้สิน หรือทุน ส่วนรายได้และค่าใช้จ่าย ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของทุน ส่วนงบกระแสเงินสดก็เป็นส่วนหนึ่งของงบดุลเช่นกัน แสดงรายละเอียดความเคลื่อนไหวของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดที่อยู่ในงบดุล (เดี๋ยวนี้เรียกงบแสดงฐานะการเงินแทน) นั่นคือทำให้ดูว่า งวดๆหนึ่งรายการเงินสดฯ ที่เปลี่ยนแปลงนั้นมันไหลเข้าไหลออกจากบัญชีกลุ่มเงินสดและรายการเทียบเท่าอย่างไร แยกให้เห็นตามลักษณะกิจกรรม

งบกระแสเงินสด

ความเชื่อมโยงงบการเงิน
ที่มา
[1] https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200687250962108

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม