วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

หลักคิดเรื่องกำไรขาดทุนของภาครัฐ

โครงการนี้ทำไปทำไมทำแล้วก็ขาดทุนทำรัฐเสียหาย มาดูกันว่านักเศรษฐศาสตร์มีแนวคิดเรื่องกำไรขาดทุนของภาครัฐอย่างไร ต่างกับ นักรัฐศาสตร์ และนักกฎหมายอย่างไร

ในทางเศรษฐศาสตร์รัฐมีหน้าที่ "จัดสรรสินค้าสาธรณะ" ซึ่งเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจัดสรรผ่านระบบตลาด เนื่องจาก แบ่งแยกไม่ได้ กีดกันชาวบ้านมาใช้ไม่ได้ เอกชนลงทุนไปก็ไม่คุ้ม แต่สังคมต้องใช้ เช่นถนน ปะปา การป้องกันประเทศ นโยบายต่างประเทศ ฯลฯ

มองทางการเงิน
ที่ใช้ไปของเงิน = ที่มาของเงิน
การใช้จ่ายภาครัฐ = หนี้สาธารณะ+ภาษี

ในมุมมองภาครัฐไม่มองกำไรขาดทุนเหมือนเอกชน ที่มองว่า
กำไร =รายได้-รายจ่าย
แต่มองที่ อรรถประโยชน์ของสังคม
อรรถประโยชน์ของสังคม =รายได้-รายจ่าย+social cost+social benefit

โครงการรัฐเกือบทุกโครงการเจ้งขาดทุนเช่น ทำถนน ไม่เคยเก็บเงินคนใช้งาน แต่การมีถนนทำให้การขนส่งดีขึ้น เร็วขึ้น ความเจริญเข้าถึง ฯลฯ รวมๆแล้ว อรรถประโยชน์ของสังคมดีขึ้น แม้จะทำแล้วขาดทุนก็ตาม

ส่วนตัวเห็นหลายคนชอบวิจารณ์ว่าโครงการนู้นนี้นั้นรัฐเสียหายเปลืองงบ เพราะเราไม่ได้ประโยชน์จากโครงการนั้นทางตรง ได้แบบอ้อมๆก็เป็นได้ อันไหนได้ประโยชน์ตรงๆก็สนับสนุนเย้วๆอยู่

ส่วนเรืองโกงนี่เสียหายจริงเพราะทำให้อรรถประโยชนสังคมลดลง ดังนั้นการบิจารยนโยบายรัฐควรแยกกัน ระหว่างโกงก็ว่าตาม กฎหมาย ส่วนผลกระทบนโยบายว่าตามเศรษฐศาสตร์

สรุปคือในมุมมองนักเศรฐศาสตร์ ไม่มองแค่กำไรขาดทุนเพราะทำโครงการอะไรรัฐเสียหายหมดละ แต่ดูว่าทำแล้วอรรถประโยชน์สังคมดีขึ้นหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม