วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554

logistics management คืออะไร

logistics management คำนี้เริ่มดังในปี 1985 สมัยนั้นบริษัทต่างๆยังไม่ค่อยจัดการในภาพรวมซักเท่าไร บางบริษัทก็เน้นแต่การผลิต บางบริษัทก็ขายอย่างเดียว แต่หลังจากที่ Michael Porter เขียนในหนังสือชื่อดัง Competitive Advantage ว่าการที่จะส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้าได้นั้นทุกแผนกต้องสัมพันธ์กัน เฮียPorterก็ทำมาเป็นแบบจำลองว่ามี 9 ปัจจัยตามรูปที่ทำให้กิจการมีความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่าคู่แข่ง
พอโมเดลนี้ออกมาทำให้ธุรกิจต้องรีบปรับปรุงตัวเองใุนทุกด้านทั้งโครงสร้าง องค์กร ไอที จัดซื้อ มาติดอยู่คำว่า "logistics" ทุกบริษัทงงเป็นไก่ตาแตกว่า logistics คืออะไรและ Inbound Logistics กับ Outbound logistics คืออะไรวะรวมถึง logistics management

ด.ร พงษชัย อธิคมรัตนกุลได้ให้ความหมายของคำว่า logistics management ว่า

"การจัดการโลจิสติกส์ หมายถึง การบริหารจัดการขบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการ และการควบคุมการทำงานขององค์กร ให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม และการกระจายสินค้า วัตถุดิบ ชิ้นส่วนประกอบ หรืออาจรวมถึงการบริการ ที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยปัจจุบันถือว่าเป็นขบวนการหนึ่งในการบริหารจัดการโซ่อุปทาน"
จากความหมายนี้คำว่า logistics management ประกอบด้วยสองคำครับคือ  logistics และคำว่า management ก็จะขออธิบายแยกดังนี้ครับ

1.  logistics สรุปเป็นคำสี่คำก็คือ เคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจาย ซึ่งบริษัทไหนๆก็มีกิจกรรมเหล่านี้ ก็จะแบ่งเป็นสองส่วนคือ Inbound Logistics Outbound logistics
       1.1 Inbound Logistics ก็คือกิจกรรมเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจาย วัตถุดิบหรือชิ้นส่วน
       1.2 Outbound logistics ก็คือกิจกรรมเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจาย สินค้าหรือบริการไป หาลูกค้า

2. management ในการจัดการผู้บริหารมีหน้าที่สามอย่างคือ Planning Monitoring Controlling  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ (ผลเท่าเดิมแต่ใช้วัตถุดิบน้อยลง) และประสิทธิผล(เน้นผลงานเป็นสำคัญเปลืองวัตถุดิบเท่าไหร่ไม่ว่า) โดยคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ

สรุปวัตถุประสงค์หลักจริงๆของการจัดการโลจิสติกส์ก็คือการบริหารจัดการการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้านั่นเอง หรือเขียนเป็นหลักการ Seven Rights ไว้ท่องให้ขึ้นใจว่า

ได้ผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าต้องการ (Right product & Right customer)
ตามปริมาณที่ลูกค้าสั่งซื้อ (Right quantity)
ถือเอาคุณภาพที่ตกลง (Right condition)
ส่งตามที่นัดหมาย (Right place)
ได้ตามเวลาที่กำหนด (Right time)
อยู่ในปริบทที่คุ้มต้นทุน (Right cost)

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม