วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สอบ CFA, CISA ไม่ยากถ้ารู้จักเตรียมตัว

ขอบอกว่างานอดิเรกของผมคือสอบ CISA ที่เป็นหลักสูตรที่เนื้อหาเดียวกับ CFA เพราะใช้ตำราเล่มเดียวกัน แต่เป็นของไทย จัดสอบโดย TSI  เหตผลก็ง่ายๆครับคืออยากรู้ว่านักวิเคราะห์ที่พูดกรอกหูให้เราฟังพอฟังให้เคลิ้มๆก็เอาเงินออมทั้งชีวิตไปลงทุนเขาคิดอะไร ก็มาดูหลักสูตรสำหรับนักวิเคราะห์ที่เขานิยมสอบกันก็คือ CISA ของไทย CFA อเมริกา เปรียบเทียบราคาแล้วสอบก็เลือกสอบ CISA ของไทยครับเพราะแยกสอบเป็นหมวดๆได้ แต่ต้องสอบให้ผ่านทุกหมวดใน 2 ปี ส่วน CFA เครียดกว่าหน่อยเพราะสอบครั้งเดียว ค่าสอบก็แพง เอาเงินส่วนต่างมาลงทุนดีกว่า

เนื้อหาที่ต้องสอบมีอะไรบ้าง?
วิชาที่สอบจะแบ่งเป็นสี่หมวดครับ
หมวดที่ 1 จรรยาบรรณ
การเตรียมตัวสอบง่ายมากคือให้อ่านกรณีศึกษาเข้าไปเหมือนอ่านนิยาย ข้อสอบก็ออกประมาณนั้นแหละ อีกเทคนิคนึงคือให้ตอบคำถามตรงข้ามกับที่เราทำอยู่ 5555

หมวดที่ 2 ความรู้พื้นฐาน
ถ้าสอบ level 1 ข้อสอบจะเน้นหมวดนี้เป็นพิเศษครับ เนื้อหาเยอะ แต่ก็เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการลงทุนวิชาที่สอบก็ประกอบด้วย
1 คณิตศาสตร์ คำนวณผลตอบแทน ความน่าจะเป็น และสถิติ มี regression นิดหน่อย เทคนิคก็ต้องหัดกดเครื่องคิดเลขให้ชินและไวครับ
2 เศรษฐศาสตร์ เนื้อหามีทั้งเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค แต่ผมจบเศรษฐศาสตร์มาก็เลยชิวๆครับ
3 บัญชี บัญชีก็เหมือนบันทึกประวัติศาสตร์ของบริษัทนั้นๆครับ เคยผ่านอะไรมาก็จะอยู่ในงบการเงินนั้นเอง วิชานี้เครื่องมือหากินเลยโดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นที่ต้องวิเคราะห์งบการเงินให้ออกเพราะเป็นภาษาของธุรกิจครับ
4 การเงิน ถ้าเปรีบบัญชีเหมือนบันทึกประวัิติศาสตร์ วิชาการเงินก็เหมือนการมองไปข้างหน้าครับ
  4.1 จะเกิดอะไรขึ้นถ้า? ในการประเมินมูลค่าหุ้นหัวใจอยู่ีที่คำถามนี้ครับ คนที่เก่งๆเขาจะมองภาพนี้ออกครับ สมมติเจอหุ้นตัวนึงที่กำลังปรับโครงสร้างหนี้ เขาจะถามเลยว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้า?บริษัทนี้ปรับโครงสร้างหนี้ได้ หนี้หายไปครึ่งนึง และกลับมาจ่ายปันผลได้
  4.2 มูลค่าของกิจการจะเป็นเท่าไร เรื่องนี้ไม่ยากแค่เอาตัวเลขมาใส่สูตรก็จบ

หมวดที่ 3 การประเมินมูลค่า
เนื้อหาหมวดนี้จะเน้นใน level 2 ครับ เนื้อหาก็มี 4 วิชาคือ
1 การประเมินมูลค่าตราสารหนี้ เวลาอ่านให้จิตนาการว่าเราเป็นเจ้าหนี้ครับและจะมันส์ในการอ่านมาก
2 การประเมินมูลค่าตราสารทุน  เวลาอ่านให้จิตนาการว่าเราเป็นเจ้าของกิจการครับ ใน level 1 สูตรหลักๆก็ DDM คิดลดเงินปันผล แค่นั้นแหละพลิกไปพลิกมา
3 การประเมินมูลค่าตราสารอนุพันธ์ เวลาอ่านให้จิตนาการว่าเราเป็นเจ้ามือบ่อนครับ แล้วจะเห็นจุดเชื่อมโยงของแต่ละเรื่อง
4 การประเมินมูลค่าการลงทุนทางเลือก เหมือนการรวมตราสารทั้งสามตัวเข้าด้วยกัน เป็นสารพัดการลงทุนประหลาดๆ ทำสุดท้ายก็ได้เงินเหมือนกัน

หมวดที่ 4 การบริหารพอร์ทลงทุน
เป็นการประเมินว่าเราควรลงทุนหลักทรัพย์แต่ละตัวด้วยสัดส่วนเท่าไร ที่จะตอบสนองความต้องการของเราได้

จากเนื้อหาผมว่าถือว่าครบครันสำหรับการลงทุนครับ แต่ความยากจริงคือจะเอาทั้ง 10 วิชามาผสมกันเป็นหลักการลงทุนของเราได้อย่างไร

1 ความคิดเห็น :

  1. ขอบคุณสำหรับแนวทางครับอาจารย์ภัทร ผมมีความสนใจจะสอบหลังเรียนจบพอดีเลยครับ

    ตอบลบ

สงสัยอะไรถามได้ครับผม