วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio

PE Ratio เป็นอัตราส่วนยอดฮิตในการประเมินมูลค่าหุ้น จากความง่ายในการคำนวณของมันนั่นเอง ตำราการลงทุนเบื่องต้นมักสอนกันว่า "หุ้นตัวไหน P/E Ratio สูงกว่า 10 แปลว่าแพง" นักลงทุนจึงความหาหาหุ้น PE ต่ำ 10 แล้วก็ซื้อ แต่ว่าจริงๆแล้ว PE Ratio มันง่ายแต่ลึกครับ

PE Ratio เป็นการประเมิณมูลค่าโดยใช้ "ตัวคูณราคา (price multiples valuation)" อยู่บนหลักการที่ว่า การหามูลค่าหรือราคาหุ้นก็คือ การประเมินว่าราคาหุ้นที่ผู้ลงทุนจ่ายออกไปจะนำไปซื้อตัวแปรทางการเงินที่แทนมูลค่าใดได้บ้าง สำหรับ PE Ratio ก็คือ คุณยอมจ่ายซื้อหุ้นด้วยราคาเป็นกี่เท่าของกำไร (earning )  นั่นเอง

อัตราส่วน PE 
คำว่าถูกหรือแพงมาจากทฤษฏีเศรษฐศาสตร์ "กฏของราคาเดียว (law of one price)" ที่กล่าวว่าสินทรัพย์ 2 อย่างที่เหมือนกันควรมีราคาที่เท่ากัน ดังนี้นถ้าหุ้นสองตัวมีลักษณะเหมือนกันทุกประการ หุ้นตัวที่ PE ต่ำกว่าจะมีราคาถูกกว่าโดยเปรียบเที่ยบนั่นเอง

ตัวอย่าง

  • หุ้น A มีค่า PE ratio 10 เท่า แปลว่าคุณจ่ายเงินไป 10 บาทเพื่อแลกกับการได้กำไร 1 บาท
  • หุ้น B มีค่า PE ratio 6 เท่า แปลว่าคุณจ่ายเงินไป 6 บาทเพื่อแลกกับการได้กำไร 1 บาท

ถ้าทั้งสองบริษัททำธุรกิจเดียวกัน ความเสี่ยง การเจริฐเติบโต ฯลฯ คล้ายๆกัน ก็จะสรุปได้ว่าหุ้น B มีราคาต่ำกว่าโดยเปรีบเทียบกับหุ้น A

บางคนก็มอง PE Ratio เป็นการหาจุดคุ้มทุน สมมติหุ้น B มี PE ratio 6 เท่า ถ้าบริษัททได้กำไรคงที่ทุกปีนึกลงทุนต้องถือหุ้นนี้ไป 6 ปีจะเท่าทุน

หัวใจสำคัญของการใช้ PE Ratio ในการประเมินมูลค่าคือการวิเคราะห์กำไร (earning) ครับ เป็นหน้าที่ของนักลงทุนที่ต้องเฟ้นหา มาดูหลักการกันครับ

หุ้น PEปัจจุบัน (trialing PE) ต่ำดีจริงหรือ?

ค่า PE ที่โชว์ใน SET เขาเรียกว่า trialing PE เขาจะคำนวณจาก ราคาปัจจุบัน หารด้วย กำไร 4 ไตรมาศย้อนหลัง บางคนเห็นหุ้น PE ต่ำๆ มีปันผลสม่ำเสมอก็ซื้อเลย แต่ต้องดูนิดนึงครับว่า PE ต่่ำแบบมีคุณภาพหรือไม่

PE ต่ำแบบมีคุณภาพ ถือแล้วสบายใจลั้นลา
  • รายได้ กำไรโตสม่ำเสมอ
  • อัตรากำไรสม่ำเสมอ
  • กำไรสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ ดูกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) เทียบกับกำไรสุทธิ ถ้าใกล้ๆกันถือว่าดี
  • ธุรกิจไม่ต้องลงทุนเยอะๆเพื่อขยายกิจการ
    • เงินทุนหมุนเวียน (สินทรัพย์หมุนเวียน - หนี้สินหมุนเวียน) อย่าง earth ขายถ่านหินอัตรากำไรน้อย แต่อยากโตจำเป็นต้องลงทุนในลูกหนี้การค้า กับสินค้าคงเหลือมาก แต่เครดิตการค้าได้นิดเดียว ทำให้ CFO ติดลบเงินขาดมือ ต้องกู้หนี้ยืมสินมาเพื่อหมุนเงิน นักลงทุนก็กลัวเพิ่มทุน
    • สินทรัพย์ถาวร บางธุรกิจจะโตได้ต้องลงทุนสินทรัพย์เยอะ เมื่อดำเนินงานช่วงแรกๆ ต้นทุนคงที่มากทั้ง ค่าดำเนินการ ค่าเสื่อมก็เยอะ ดอกเบี้ยก็แยะ ต้องใช้เวลากว่าจะคุ้มทุน
  • ถึงธุรกิจขาดทุน PE = n.a เราก็ลงทุนได้ เพราะถ้าธุรกิจพลิกมาเป็นกำไรได้เราก็รวย ต้องมาดูว่าเขาขาดทุนเพราะอะไร ในทางธรุกิจถ้าธุรกิจยังไม่หมดความสามารถในการทำกำไรปัญหาอะไรก็สามารถแก้ไขได้ทั้งนั้น


PE ต่ำแบบไม่มีคุณภาพ มีโอกาศติดดอยสูง:
  • ธุรกิจไม่โต หรืออยู่ในอุตสาหกรรมตะวันตกดิน
  • หุ้นที่มีกำไรพิเศษที่ไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานธุรกิจปกติเช่น เช่นกำไรจากการขายสินทรัพย์ กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ กำไรจากการออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์
  • หุ้นวัฏจักรที่กำไร ผันผวน หุ้นกลุ่มนี้ PE ต่าต้องขายเพราะเป็นช่วงสูงสุดของวัฏจักร กำไรถึงจุดสูงสุดใครเข้าไปต้องระวังติดดอยครับ

หาราคาเป้าหมายของหุ้นด้วย Forward PE

คนที่เป็นเซียนก็คือคนที่สามารถทำนายกำไรในอนาคตได้แม่นกว่าคนอื่น เหมือนยากแต่ถ้าเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้ง เล่าแผนงานในอนาคตได้เป็นฉากๆ ตัวเลขกำไรในอนาคตจะออกมาเองทำให้เห็นราคาเป้าหมายก่อนคนอื่น (บางคนเป็นเพื่อนกับผู้สอบบัญชีก็จะเห็นกำไรก่อนชาวบ้าน แต่ทำบ่อยๆระวัง กลต เรียกไปทานกาแฟละกัน) เราก็เข้าซื้อก่อนคนอื่น ถ้ากำไรมาอย่างที่เราคิดราคาก็วิ่งไปเป้าหมายเอง ถึงเป้าเราก็ขายก่อนคนอื่น ให้คนอื่นที่เข้ามาที่หลัง (แมงเม่า) ติดดอยไป

สำหรับการหาราคาเป้าหมายโดยใช้สูตร

  • ราคาเป้าหมาย = [PE] x กำไร (Earning) ที่คาดการณ์
  • ถ้าราคาตลาดต่ำกว่าราคาเป้าหมายมากๆ ก็ซื้อ
  • PE เป้าหมายที่ใช้เป็นตัวคูณอาจแบ่งเป็นช่วงๆ เช่น
    • หุ้นเสี่ยงหน่อยกำไรผันผวน ก็ < 10
    • หุ้นทั่วๆ ไปก็ PE  10 - 15
    • หุ้นจะมี PE ขึ้นถ้า
      • ตลาดคาดหวังการเจริญเติบโต (growth) มากๆ แต่ต้องระวังถ้าธุรกิจกำไรเติบโตลดลงโอกาศติดดอยมีสูงมาก 
      • ไปทำอะไรที่ความเสี่ยงลดลง เช่น tpoly จากรับเหมาก่อสร้างที่กำไรไม่ค่อยสม่ำเสมอก็มาทำโรงไฟฟ้าทำให้กำไรผันผวนลดลง หรือ โรงงานน้ำตาลหลายโรงที่เอากากน้ำตาลมาทำไฟฟ้า เอทานอล
      • อัตราการจ่ายปันผลเมื่อเทียบกับกำไร (payout ratio) มากขึ้น

ตัวอย่าง

  • การประเมินมูลค่าต้องมองไปข้างหน้าครับว่า ในอีก 1-3 ปีข้างหน้าบริษัทจะทำกำไรได้เท่าไร  สมมติว่าอีก 1 ปี จะทำกำไรสุทธิได้ 100 ล้านบาท และบริษัทนี้มีจำนวนหุ้นสามัญที่ชำระแล้วเป็นจำนวน 100 ล้านหุ้น เราก็จะได้กำไรต่อหุ้น (EPS) เป็น 100ล้านลาท / 100 ล้านหุ้น = 1 บาท / หุ้น
  • สมมติให้ PE ในอนาคตเท่ากับ 15 เท่า มาจากการเข้าใจธุรกิจอย่างลึกซึ้งทำให้เชือได้ว่ากำไร 3 ปีจากนี้ต้องโตได้ 20% แน่ๆ จากแผนการขยายสาขา ฯลฯ (โม้ได้เป็นวัน)
  • ดังนั้นราคาเป้าหมายใน 1 ปี = 15 เท่า x EPS 1 บาท = 15 บาท ณสิ้นปี
  • ดูราคาหุ้นที่เป็นอยู่ปัจจุบันว่าราคาเท่าไหร่ สมมติราคาเป็น 10 บาท แสดงว่าในอีก 1 ปี หุ้นตัวนี้มีโอกาสที่ราคาจะเพิ่มเป็น 15 บาท ก็เป็นไปได้ ทำให้ถ้าเราเข้าซื้อวันนี้เราก็จะมีโอกาสทำกำไร 50% ใน 1 ปี เป็นต้น
  • แต่ในทางกลับกันถ้าหุ้นบนกระดานมีราคาเป็น 15 บาท ก็แสดงว่าราคาได้ขึ้นมารองรับผลประกอบการในอนาคต 1 ปีแล้ว (โดยประมาณ) เราก็ไม่ควรซื้อ


เพราะฉะนั้นในการหาหุ้นที่จะทำกำไรให้เราได้ยาวนาน ก็ต้องเป็นหุ้นของกิจการที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืนเท่านั้น ซึ่งนักลงทุนจะต้องมองกิจการให้ตรงตามความเป็นจริงมากที่สุด และคาดหวังผลตอบแทนจากหุ้นอย่างสมเหตุสมผล ด้วยสมมุติฐาน และข้อมูล ความรู้ ความมีวินัย การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมในการลงทุน ให้สมเหตุสมผลที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม