เริ่มที่การวิเคราะห์สภาพคล่องธุรกิจ-อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratios) อัตราส่วนกลุ่มนี้จะช่วยบอกสถานะสภาพคล่องหรือกระแสเงินสดของกิจการในการชำระหนี้ระยะสั้นและการดำเนินธุรกิจในรอบๆ หนึ่งว่ามีความคล่องตัวเพียงใด บริษัทที่สามารถมีภาพคล่องหรือที่เรียกกันทั่วไปว่ามีเงินหมุน (เวียน) ในระดับที่พอเหมาะหรือมากจะมีโอกาสและได้เปรียบในการแข่งขันสูง ถ้าย้อนกลับไปที่วัตถุประสงค์ของธุรกิจคือต้องสามารถทำกำไร สร้างกระแสเงินสดและรักษาการอยู่รอด (Make Profit, Generate Cash Flow and Stay Solvency) เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผู้ถือหุ้น การวิเคราะห์พิจารณาติดตามอัตราส่วนกลุ่มนี้ จะช่วยให้บริษัทอยู่รอดได้อย่างแข็งแกร่งภายใต้ภาวะปัจจุบันที่สภาพแวดล้อมธุรกิจผันแปรอยู่เสมอ อัตราส่วนกลุ่มนี้มีใช้พิจารณาหลายค่าดังนี้
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio)
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
- อัตราส่วนเงินสด (Cash Ratio)
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนปรับแต่งใหม่ (Modified Current Ratio)
- อัตราส่วนความเพียงของเงินสด (Cash Adequacy Ratio)
- อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) เป็นอัตราส่วนที่จะกล่าวในเบื้องต้น
Current Ratio = Current Assets/ Current Liability
= สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
ในตำราทั่วไปมักจะกล่าวกว้างๆ ว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ต่ำกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีหนี้ระยะสั้นสูงกว่าสินทรัพย์แสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ทำให้นักวิเคราะห์หลายท่านตีความว่า อัตราส่วนนี้ต้องสูงกว่า 1 จึงจะถือว่าดีต่อธุรกิจ ก็ถือว่าไม่ผิดเสียทีเดียว ถ้าเช่นนั้นมี 2-3 เท่าขึ้นไปยิ่งดีเช่นนั้นหรือ คำตอบคงไม่ใช่แน่นอน หลายบริษัทที่เป็นกิจการที่แข็งแกร่งระดับ Blue chip บางบริษัทในบางช่วงก็ไม่ได้มีอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 หลายบริษัทที่มีอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 กลับต้องประสบปัญหาทางการเงินในเวลาถัดมา ถ้าอย่างนั้นแล้วควรเป็นอย่างไร
- Current Ratio มากกว่า 1 ดีจริงเสมอไหม น้อยกว่าได้หรือไม่ แล้วเท่าไรถึงเรียกว่ากำลังดี
- อัตราส่วนควรเท่าไรนั้นให้พิจารณาจากการเปรียบเทียบรอบการหมุนของสินทรัพย์หมุนเวียนและรอบการหมุนของหนี้สินหมุนเวียน
- หลักตรรกะ (Logic) คือ รอบการหมุนหมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนเป็นเงินสดเข้า (สำหรับสินทรัพย์หมุนเวียน) หรือเป็นเงินสดออก (สำหรับหนี้สินหมุนเวียน) ถ้ารอบสินทรัพย์หมุนเวียนเร็วกว่ารอบของหนี้สินหมุนเวียนก็แสดงว่ากิจการสามารถถือสินทรัพย์หมุนเวียนได้ต่ำกว่าหนี้สินหมุนเวียน
- ถ้ารอบการหมุนของสินทรัพย์หมุนเวียนสูงกว่ารอบการหมุนของหนี้สินหมุนเวียนเท่ากับ 2 เท่า อัตราส่วน CR สามารถต่ำได้ถึง = 1/2 = 0.5 แต่ควรบวก safety ไว้สัก 2-1.5 เท่า ดังนั้น CR = 0.5*1.5 = 0.75
- การหารอบการหมุน ให้ใช้การถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ turnover ของแต่ละรายการในงบ เช่น เงินสด = 26 ลูกหนี้การค้า = 8 สินค้าคงเหลือ = 6
- การหารอบการหมุน เช่น เงินสด = 26 ลูกหนี้การค้า = 8 สินค้าคงเหลือ = 6 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น อาจเท่ากับ 1 หรือ 0 ก็ได้ (ดูความสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสด) ตัวอย่างเช่น
หารอบหมุนเวียนเฉลี่ยโดยการคูณรอบหมุนเวียนด้วยน้ำหนัก หรือสัดส่วนที่เป็นอยู่ในสินทรัย์หมุนเวียน เช่น
สินทรัพย์หมุนเวียนประกอบด้วย
- เงินสด------------------------------15
- ลูกหนี้การค้า----------------------75
- สินค้าคงเหลือ---------------------90
- ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า----------------20
- รวมสินทรัพย์หมุนเวียน----------200
หารอบหมุนของแต่ละค่าด้วยการถ่วงน้ำหนัก
- เงินสด---------------------------15 x 26/200 = 1.95
- ลูกหนี้การค้า-------------------75 x 8/200 = 3.0
- สินค้าคงเหลือ------------------90 x 6/200 = 2.7
- ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า-------------20 x 1/200 = 0.1
- รวมสินทรัพย์หมุนเวียน-------200 = 7.75 รอบ
-ปกติรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จะดูว่าเป็น monetary items เพียงใด และจะให้เท่ากับ 1 รอบต่อปีเท่านั้น เพราะมัดจะมีการเปล่ยนทางบัญชีหรือใชีเพียง 1 ครั้งเท่านั้น เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจ่ายล่วงหน้า แม้จะเกิดทุกเดือน แต่เวลาเคลมคืน (เงินเข้า) ตอนจ่ายภาษีประจำปี ภงด ๕๐ เท่านั้น เป็นต้น
ด้านหนี้สินหมุนเวียนทำแบบดียวกัน
- เงินเบิกเกินบัญชี----------------20 x 12/160 = 1.500
- เจ้าหนี้การค้า--------------------30 x 10/160 = 1.875
- ตั๋วเงินจ่าย-----------------------50 x 6/160 = 1.875
- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย---------------60 x 12/160 = 4.500
- รวมหนี้สินหมุนเวียน-----------160 = 9.750 รอบ
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนตามสูตร (CR) = 200/160 = 1.25
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 9.75/7.75 หรือ 1.26
-ค้างจ่ายค้างจ่ายมักจะจ่ายไม่เกินเดือน เช่นเงินเดือน ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น
-รายการประเภท ส/ท น/ส หมุนเวียนอื่นๆ ในแง่การวิเคราะห์งบการเงินมักมีมูลค่าไม่มีนัยสำคัญมาก ส/ท มว ให้ =1 ส่วน น/ส มว ให้ = 12 เพื่อหลักการระมัดระวัง (conservative)
แต่เราสามารถหาอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 9.75/7.75 หรือ 1.26 ถ้ากิจการเผื่อความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เท่าว่าเป็นระดับที่กำลังดี จะได้ที่ระดับ CR = 1/(7.75/9.75)*1.5 = 1.89 หรือถ้าเผื่อความปลอดภัย ไว้เท่ากับ 1.2 จะได้ = 1.51 แสดงว่า ณ ปัจจุบันกิจการมีความเสี่ยงในเรื่องของสภาพคล่อง อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ 1.25 ไม่ได้บอกว่าวันนี้กิจการไม่น่าห่วงในเรื่องสภาพคล่อง แต่ระดับขณะนี้ถือว่าอยู่ในระดับปริ่มน้ำ เพราะอยู่ในระดับต่ำสุดของที่ควรจะเป็น ถ้าหากเพื่อความเสี่ยงหรือความปลอดภัยมากขึ้นราว 20% อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่จะทำให้กิจการมีการหมุนเวียนปลอดภัยคือ 1.51 ระดับที่เป็นอยู่ปัจจุบันที่ 1.25 เท่าดังกล่าวจะถือว่าไม่ยังปลอดภัย
- ถ้าเปลี่ยน หนี้สินหมุนเวียนมีการเปลี่ยนแปลงทั้งปริมาณและรอบหมุนเวียน เป็น
- เงินเบิกเกินบัญชี---------------30 x 12/200 = 1.80
- เจ้าหนี้การค้า-------------------40 x 12/200 = 2.40
- ตั๋วเงินจ่าย ----------------------60 x 6/200 = 1.80
- ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย---------------70 x 12/200 = 4.20
- รวมหนี้สินหมุนเวียน----------200 = 10.20 รอบ
เมื่อคำนวณหาอัตราส่วนหมุนเวียนตามสูตร (CR) = 200/200 = 1.00
อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่ควรจะดำรงไว้ที่ต่ำสุด = 10.2/7.75 = 1.31
แต่ถ้าคำนวณโดยการพิจารณารอบการหมุนเวียนเพื่อหาระดับ CR ที่ต่ำสุดที่กิจการควรดำรงไว้จะเท่ากับ 1.31 ถ้าเพิ่มความปลอดภัย (safety factor) สัก 1.5 เท่า ระดับที่ควรเป็น = 1/(7.75/10.2)*1.5 หรือ 1.97 หรือถ้าเผื่อความปลอดภัยไว้เท่ากับ 1.25 จะได้ = 1.65
-ข้อสังเกต ถ้าหากรอบของสินทรัพย์หมุนเวียนยิ่งสูงมากเท่าใดอัตราส่วนหมุนเวียนก็สามารถมีค่าต่ำได้มากขึ้น แต่ถ้ารอบของสินทรัพย์หมุนเวียนหมุนเวียนต่ำกว่าหนี้สินหมุนเวียนมากเท่าไร ค่าที่เหมาะสมของอัตราส่วนหมุนเวียนก็จะยิ่งสูง
-อัตราส่วนหมุนเวียนยังขึ้นกับโครงสร้างของสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนด้วยว่ามีอะไรเป็นองค์ประกอบสัดส่วนเท่าไร ดังนั้นหน้าที่ของ CFO หรือ Finance Manager จึงต้องบริหารสัดส่วนและอัตราการหมุนเวียนของรายการในทุนหมุนเวียน
-ระดับอัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่คำนวณตามสูตร ซึ่งขอเรียกว่าเป็น current ratio (should be) เป็นระดับที่กิจการจะสามารถดำรงความสามารถรักษาสภาพคล่องได้อย่างไม่มีปัญหาการดำเนินงานได้ หากอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำกว่าค่าดังกล่าว บริษัทต้องมีการดำเนินการด้านการจัดหาเงิน (financing activity) เพื่อให้สามารถดำรงกิจกรรมธุรกิจต่อไปเช่น ตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไปในธุรกิจโทรคมนาคม ในปีที่บริษัทมีอัตราส่วนทุนหมุนเวียนต่ำกว่าอัตราสวนที่ควรจะเป็น พบว่าในปีถัดมามีการเพิ่มทุนตามมา
- ส่วนค่าความปลอดภัยนั้นจะกล่าวถึงในเรื่อง quick ratio
- อัตราส่วนทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมจะเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงวงจรธุรกิจ
- สรุปหลักคิดคือรอบการหมุนของสินทรัพย์สามารถเปปลี่ยนเป็นเงินสดเปรียบเทียบกับรอบการหมุนของหนี้สิน ดั้งเดินนั้นถือว่าเอาตามนิยามบัญชีคือ สินทรัพย์หมุนเวียน = 1 ปี ส่วนหนี้สินหมุนเวียนก็ = 1 ปี เช่นกันเลยสรุปง่ายๆว่า = 1 แต่ในความจริงนั้นรอบของทั้ง สินทัพย์หมุนเวียนไม่เท่ากับหนี้สินหมุนเวียน อัตราส่วน Current ratio จึงไม่ใช่ 1 ถึงดีเสมอ
นโยบายเงินทุนหมุนเวียน |
- Temporary Current Assets เป็นระดับสินทรัพย์หมุนเวียนที่มมีไว้ตามภาวะวงจรเศรษฐกิจ ส่วนนี้จะไม่แน่นอน ส่วนนี้จะคือส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นจากระดับ Permanent Current Assets
- Permanent Current Assets คือระดับสินทรัพย์หมุนเวียนที่กิจการจำเป็นต้องดำรงไว้ขั้นต่ำ แล้วผู้บริหารจะทราบได้อย่างไร ในการประยุกต์เพื่อหาระดับของสินทรัพย์หมุนเวียนจะนำเรื่องจุดคุ้มทุน (Break-Even Point) มาช่วยในการคำนวณหา เช่นกิจการหนึ่งเมื่อคำนวณหาระดับยอดขายที่จุดคุ้มทุนได้แล้ว สมมติว่าได้เท่ากับ 100 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นเฉลี่ยเท่ากับ 20% ต้นทุนขายจะได้เป็น 80 ล้านบาท รอบการหมุนลูกหนี้การค้า (A/R Turnover) รอบการหมุนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) รอบการหมุนเงินสด (Cash Turnover) และรายการอื่นๆในสินทรัพย์หมุนเวียนก็จะคำนวณเบื้องต้นได้หรืออาจใช้ Common size ช่วยด้วยก็ได้ในการกำหนดสัดส่วนในสินทรัพย์หมุนเวียน ในด้านหนี้สินหมุนเวียนก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ส่วน Temporary Current Assets ก็คือส่วนที่สัมพันธ์กับยอดขายในระดับที่เกินกว่าจุดคุ้มทุนนั่นเอง
- ถ้าดูจากภาพสรุปง่ายๆคือ กิจการจะอยู่รอดต้องมียอดขายไม่น้อยกว่าจุดขายค้มทุน ดังนั้นระดับ Permanent Current Assets จึงน่าจะกำหนดได้ และส่วนนี้เมื่อต้องมีอญู่ถาวรในระยะยาวจึงควรจัดหาด้วย long term financing
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน |
- CR ระยะแรกมากกว่า 1 และค่อยๆ ลดลงจนเท่ากับ 1 จากนั้นอาจต่ำกว่า 1 ได้
- เมื่อเข้าสู่ระยะอิ่มตัวก็จะกลับเข้าสู่ 1 อีกครั้งและเพิ่มกลับมาที่ 1 ใหม่อีก
จะเห็นว่าแค่ Current ratio ที่หลายคนคิดว่าง่ายๆ เอาเข้จริงมันมีอะไรซ่อนอยู่มาก อาจารย์การเงินทั่วๆ ไปไม่สอนกันเลย ทั้งหมดที่ผมบอกมานั้นมาจากการนำไปใช้จริงมาแล้ว มีประสบการณ์จริงมาแล้ว ผู้สอนส่วนใหญ่ไม่เคยลงสนามจริง แม้บางคน (ผู้เรียน) ลงสนามจริงแต่กลับทิ้งหลักการไว้กลางทาง แล้วสรุปเอาว่าทฤษฎีใช้ไม่ได้ อัตราส่วนต่างๆ ก็เช่นกัน มันมีอะไรลึกกว่าที่เรียนกันเยอะมาก เสียดายที่หลายคนเรียนมาจากการถ่ายทอดหลวมๆ เลยนำไปใช้แบบผิดที่ผิดทางในหลายครั้ง
ที่มา https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10200928388950407
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม