วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ค่าเสื่อมราคาควรกี่ปีดี

บทความเรื่อง "ค่าเสื่อมราคา ควรต้องตัดให้ถูกวิธีและใกล้เคียงอายุการใช้งาน" ของ อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1]เขียนเรื่องการคิดค่าเสื่อมได้ละเอียด และแสดงปัญหาของการตัดค่าเสื่อมที่ไม่ใกล้เคียงอายุการใช้งานจะกระทบอะไรบ้าง เชิญอ่านโดยพลัน


การตัดค่าเสื่อมราคาหลายคนแม้แต่นักบัญชีมองเพียงแค่เป็นเพียงการทยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายทุนออกไปตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่นจะกระจายต้นทุผนสินทรัพย์ออกไป 5 ปี หรือสัก 15 ปี และจะตัดให้เท่าๆกันทุกปี หรือให้มากๆในปีแรกๆ แล้วค่อยลดลงเพื่อใต ห้กำไรดูมีแนวโน้มเพิ่มในอัตราเร่า (ใช้วิธีอัตราเร่งบ้าง หรือ ผลรวมจำนวนปีบ้าง) บ้างก็ใช้วิธีตามหน่วยผลิต (Unit of Production) เพื่อให้แสดงว่ามี Income margin ดูคงที่ตลอดการใช้งาน แต่หลายคนไม่ได้พิจารณาในด้านการเงิน (Financing Decision Making) ว่ามีผลต่อการลงทุนในระยาวอย่างไร

ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆจะได้เข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ
สมมติกิจการหนึ่ง ลงทุนเบื้องต้น ด้วยเงิน 140 $M และจัดหาเป็น PPE ทั้งหมด ซึ่งมีอายุ 7 ปี
PPE 140 = EQ 140
โครงการ (ส/ท) สามารถสร้าง รายได้หักรายจ่ายค่าเสื่อมราคา = 25 และรายได้สุทธิเป็นเงินสดทั้งหมด (ไม่มีลูกหนี้และ ส/ท หมุนเวียนอื่นๆ)
Cash 25 + PPE 140 = EQ 140 + NI 25
คิดค่าเสื่อมราคา 7 ปี ๆละ 20 $M
Cash 25 + PPE 140 – Acc.Depre 20 = EQ 140 + NI 25-20 (Deprec. 20)
สิ้นปีที่หนึ่ง Cash 25 + PPE 120 = EQ 140 + NI 5
ถ้าในทุกปีมีรายได้คงที่ตลอดไปปีละ 25 และเมื่อมีกำไรจะจ่ายปันผลกำไร 100% ปีละ 5 $M
งบการเงินหลังจ่ายปันผล

  • ปีที่ 1 Cash 20 + PPE 120 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 2 Cash 40 + PPE 100 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 3 Cash 60 + PPE 80 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 4 Cash 80 + PPE 60 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 5 Cash 100 + PPE 40 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 6 Cash 120 + PPE 20 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 7 Cash 140 + PPE 0 = EQ 140 + Retain Earn. 0

หลังจากปีที่ 7 กิจการจะดำรงต่อเนื่อง (Going concern) โดยการ Reinvest ด้วยเงินสดที่มีในโครงการเดิม 140 $M เพื่อหารายได่ปีละ 25$M ต่อไป จ่ายปันผลปีละ 5$M ผลตอบแทนปีละ 3.57% เป็นผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นพอใจ บนความเสี่ยงที่ = 0% (รายได้คงที่แน่นอนตลอดการถือหุ้น)
มูลค่ากิจการ ใช้ DDM (Dividend Discount Model) g = 0 ; k = 3.57%
P = 5/(0.0357-0) = 140

กรณีที่ 1 ถ้าตัดค่าเสื่อมต่ำหรืออายุนานกว่าความเป็นจริงเช่น ตัด 10 ปีๆละ 14 $M จ่ายปันผล 100% ของกำไร
จะมีกำไรปีละ 25-14 = 11 $M Cash = 25-11= 14

  • ปีที่ 1 Cash 14 + PPE 126 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 2 Cash 28 + PPE 112 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 3 Cash 42 + PPE 98 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 4 Cash 56 + PPE 84 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 5 Cash 70 + PPE 70 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 6 Cash 84 + PPE 56 = EQ 140 + Retain Earn. 0
  • ปีที่ 7 Cash 98 + PPE 42 = EQ 140 + Retain Earn. 0

เนื่องจากอายุการใช้งานจริงมีเพียง 7 ปี ดังนั้น ส/ท ในปีที่ 8 จะต้องจัดหาทดแทนใหม่ ของเดิมหมดอายุแล้วต้องตัดจำหน่ายออกจากบัญชี (ด้อยค่า) ต้นปีที่ 8 มีเงินสดเพียง 98 ไม่พอ กิจการทำได้สองทางคือ เพิ่มทุน หรือก่อหนี้ขึ้นเพื่อหาเงินมาลงทุนต่อเนื่อง ดังนั้นกิจการที่ตัดค่าเสื่อมต่ำในทางการเงินระยะยาวต้อง

  1. เพิ่มทุน ในการลงทุนโครงการขนาดเท่าเดิม โดยไม่มี growth
  2. ก่อหนี้เพิ่ม D/E จะเพิ่ม กำไรลดลงจากต้นทุนดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น โดยรายได้ไม่เพิ่ม สุดท้ายปันผลจะลดลง
  3. ถ้าไม่เพิ่มทุน หรือก่อหนี้ กิจการต้องลงทุนใหม่ในขนาดโครงการที่เล็กลง รายได้จะน้อยลง ปันผลจะน้อยลง


อภินิหารที่อาจเกิดได้คือ ลงทุนน้อยลง แต่รายได้โครงการใหม่มากกว่าเดิม แต่นั่นคือสิ่งที่ไม่อาจจะรู้ได้ว่าจะได้หรือไม่ ซึ่งในการลงทุนคือความเสี่ยงนั่นเอง (ต้องลุ้นเอาเองว่าจะได้หรือไม่)

ในทางกลับกันหากตัดค่าเสื่อมสูงหรืออายุเร็วกว่าที่ควรเป็น กำไรจะน้อยลง (หรืออาจขาดทุน) ในช่วงแรกๆ ปันผลจะต่ำหรือไม่มีและมาจ่ายสูงๆ หลังจากตัดค่าเสื่อมหมดแล้ว เท่ากับนักลงทุนต้องจมเงินระยะเวลาหนึ่งถึงได้เงินคืน ในแง่การประเมินราคา แบบการตัดค่าเสื่อมน้อยๆ ราคาหุ้นจะสูงในช่วงแรกๆ และราคาจะตกอย่างแรงหลังจากต้องเพพิ่มทุนหรือมีความเสี่ยงเพิ่มจากระดับ D/E ที่เพิ่มขึ้น

ส่วนกรณีที่ตัดเร็วๆหรือค่าเสื่อมสูง ราคาหุ้นจะต่ำนานหลายปีก่อนที่จะปรับขึ้นหลังตัดค่าเสื่อมหมดก่อนการใช้งานจริง ทั้งสองกรณีไม่ใช่สิ่งที่ดีกับการลงทุนแนว Value Investing แต่สำหรับคนลงทุนแบบหาจังหวะช่วงการลงทุนอาจจะได้ แต่ต้องแกะงบการเงินกันมากทีเดียว ซึ่งยากและเสียเวลามาก และในโลกความจริงไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าบริษัทมีสินทรัพย์อะไรและตัดหมดก่อนหรือหลัง (บางทีตัวบริษัทเองก็ไม่รู้) ดังนั้นการประเมินอายุและใช้วิธีที่เหมาะสม จะดีที่สุด การเลือกบริษัทลงทุนเพียงแต่พิจารณาภาพกว้างและความเหมาะสมในการกำหนดวิธีและอายุของการคิดค่าเสื่อมราคา

[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201722637126115

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม