วันศุกร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2555

หัวใจการผลิตแบบ just in time 1

เป้าหมายของการทำธุรกิจคือลงทุนไปแล้วมีเงินงอกเงย (Return on investment) การผลิตแบบ just in time หรือการผลิตหรือการส่งมอบ “ สิ่งของที่ต้องการ ในเวลาที่ต้องการ ด้วยจำนวนที่ต้องการ” ก็เป็นกลยุทธ์ที่ Toyota เอาเข้ามาใช้เพื่อให้แข่งกับคู่แข่งด้วย low cost strategy ได้และมีกำไรกลับบ้านด้วย ไม่ใช่ราคาต่ำแล้วเลือดออกซิบๆกลับบ้านด้วยการล้มละลายเหมือนฟอร์ด

ที่ Toyota เอาการผลิตแบบ just in time มาใช้แล้วก็สำเร็จได้ก็เพราะเขากุมหัวใจการผลิตแบบ just in time ซึ่งก็คือ EOQ เริ่มจากสมมติฐานข้อแรกก็ต้องคุมให้ Demand ไม่ผันผวนโดยการบี้ผ่าน Dealer ที่ต้องทำตามเป้าที่วางไว้แบบแปะๆ ที่นี้พอ Toyota เกลี่ยคำสั่งซื้อให้นิ่งลูกค้าเข้าคิวเป็นระเบียบเรียบร้อย ทุกอย่างก็ง่าย คำนวณได้หมดว่าวันนี้ต้องผลิตรถรุ่นอะไร สีอะไร จำนวนกีคัน คำนวณได้แม้กระทั่งชิ้นส่วนชิ้นนี้ต้องเข้า line ประกอบกี่โมง ถ้าทำได้ตามแผนที่วางไว้ได้ก็จะได้รถตามเวลาที่สัญากับลูกค้าไว้
ชิ้นส่วนในการประกอบเป็นรถ 1 คัน
ต่อไปก็มาดูว่าอะไรเป็นปัญหาที่ทำให้ประกอบไม่ทันตามที่วางแผนไว้วิจัยไปวิจัยมาก็สรุปเป็น ความสูญเปล่าอยู่ 8 ประการที่ต้องกำจัดให้ได้ในทั้ง supply chain ประกอบด้วย
1. การผลิตมากเกินพอดี (Over Production)
2. การรอคอยหรือเวลาที่ใช้รอในการปฎิบัติการ (waiting) จ้างมานั่งเฉยๆมีแต่เสียเงินก็ดึงมาสร้าง Value ซะ
3. การเคลื่อนย้ายโดยไม่จำเป็น (Unnecessary Transport) เสียเวลา เสียค่าน้ำมัน เสียตัว ฯลฯ
4. การผลิตโดยใช้ขั้นตอนมากเกินไปหรือวิธีไม่ถุกต้อง (Over processing,Incorrect Processing) เสียคน เครื่องจักร์ ฯลฯ ไปทำเรื่องไร้สาระ
5. สินค้าคงคลังเกินจำเป็น (Excess Inventory) เมื่อรู้อยู่แล้วว่าต้องผลิตอะไรจำนวนเท่าไรจะเก็บอะไรไว้นักหนา
6. การเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น (Unnecessary Movement) เครื่อนไฟวเยอะเหนื่อย ทำงานได้น้อยลง
**** 7. ความบกพร่องของชิ้นส่วน+สินค้าสำเร็จรูป (Defect) ถ้าชิ้นส่วนผลิตไม่ได้คุณภาพเข้ามาเวลาตรวจเจอว่าสินค้าสำเร็จรูปมีปัญหาก็ต้องรื้อทั้งคันกว่าจะรู้ว่ามีปัญหาจากชิ้นส่วนไหนก็รถคันนั้นก็ตกรุ่นไปแล้ว เสียเงินเสียเวลาเสียความรู้สึก ดังนั้นเพื่อให้ปัญหาน้อยที่สุด มันตบมือข้างเดียวไม่ดังก็ต้องทำ Supplier development จนของที่ส่งมาคุณภาพดีไม่มีปัญหา ประกอบสบายใจ ข้อนี้แหละเกี่ยวกับการลงทุนหุ้นของบริษัทที่อยู่ในหมวดยานยนต์ว่าจะคุมคุณภาพได้ขนาดไหน
8. ความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ (Unused Employee Creativity)

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม