วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิธีวิเคราะห์ว่าบริษัทจะเจ้งหรือไม่

ลงทุนหุ้น turnaround ให้รวยขั้นแรกต้องมั่นใจก่อนว่าบริษัทที่จะลงทุนต้องไม่เจ้งไปซะก่อน เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งคือเรื่องหนี้สินไม่ว่าธุรกิจคุณจะเป็นเช่นไรยังไงก็ต้องจ่ายหนี้ การใช้อัตราส่วนการวิเคราะห์ความอยู่รอด Solvency Ratio (Leverage Ratio) เป็นอัตราส่วนที่จะตอบคำถามว่าบริษัทว่ามีภาระหนี้มากน้อยเพียงใด และธุรกิจมีปัญหาจ่ายหรือไม่ อยากรู้รายละเอียดเชิญอ่านบทควาามเรื่องนี้จาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล[1] โดยพลัน

Financial leverage: ความเสี่ยงทางการเงิน
อัตราส่วนการวิเคราะห์ความอยู่รอด Solvency Ratio (Leverage Ratio) อัตราส่วนกลุ่มนี้เป็นเครื่องชี้ถึงความสามารถในการชำระภาระหนี้สินของกิจการในระยะยาว ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อผู้ที่เน้นการลงทุนระยะยาวจริงๆ (ไม่ใช่นักลงทุนประเภท Trading ที่อาจเก็งแต่ผลประกอบการรายไตรมาส ซื้อหุ้นโดยหวังผลเรื่องการเติบกำไรแจะเป็นแรงขับดันราคาหุ้น) แต่สำหรับคนที่จะลงทุนระยะยาวโดยไม่ได้กังวลกับความผันผวนราคาฃรายวัน รายเดือน นอกจากอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity) ความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ประสิทธิภาพ (Efficiency: พวก Turnover ต่างๆ) แล้ว ตัวที่ละเลยไม่ได้เลยคือ อัตราส่วนความอยู่รอด (Solvency) ที่มีอยู่หลายค่า ตามแต่ที่จะใช้กัน เช่น 
  1. Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) = Total Debt / Total Equity
  2. Debt to Asset Ratio = Total Debt / Total Assets
  3. Short-term Debt to Total Debt = S-T Debt / Total Debt 
  4. Interest Coverage Ratio or Times interest Earned = EBIT/ Interest Expense
  5. Modified Interest Coverage Ratio = CFO before interest and tax / Cash of interest payment
  6. Modified Debt Principal Payback Period (Debt Coverage Ratio)= Long-term Liabilities / CFOOr Implied Debt Coverage Ratio = Debt / EBITDA
บางอัตราส่วนก็ไม่ได้ตีความต่างกันนัก เช่น Debt to Equity Ratio (D/E Ratio) กับ Debt to Asset Ratio แต่ที่นิยมก็คือ D/E จะใช้ตัวใดก็ได้ เพียงแต่ตีความให้เป็นเท่านั้น เพราะทั้งสองค่านี้ตีความเหมือนกัน เช่นบริษัทหนึ่งมี D/E เท่ากับ 0.4 ถ้าหาเป็น D/A = 0.29 เพราะ A = D + E เมื่อ D/E = 0.4 แสดงว่า ถ้ามี หนี้สิน Debt อยู่ 4 จะมี Equity อยู่ 10 นั่นคือจะมี Asset เท่ากับ 14 การตีความ D/E หมายถึงโครงสร้างแหล่งทุนบริษัทดังกล่าวมีโครงสร้างการจดห่แหล่งเงินทุน ใช้หนี้สินรวม 40% เทียบกับใช้จากส่วนทุน 100% ค่านี้จะดีหรือไม่ขึ้นกับว่าเมื่อเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมเป็นอย่างไรนั่นคือประเด็นหนึ่ง เพราะหากบริษัทเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมแล้วส่วนใหญ่อยู่ที่ 0.6 แสดงว่า มีโครงสร้างทุนที่เสี่ยงน้อยกว่าแต่ในด้านหนึ่ง ROE อาจต่ำกว่าอุตสาหกรรม แต่นั่นไม่ใช่ข้อสรุปว่าหุ้นนี้ไม่ดี เพราะการมี ROE ที่ต่ำกว่าในขณะที่ความเสี่ยงต่ำกว่านั้น เท่ากับความเสี่ยงกิจการได้ลดลง ทำให้ Expected return ของ Market ที่มีต่อหุ้นลดลงด้วย (High risk High return) ซึ่งได้เคยพุดถึงเรื่องทฤฌฎีโครงสร้างทุนเกี่ยวเรื่องนี้ ไว้บ้างแล้ง ซึ่งค่าความสัมพันธ์ 
ในทฤษฎีการเงินเรื่อง capital structure ต้นทุนหุ้นทุนจะผันแปรโดยตรงกับ D/E เมื่อ 
rk = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ มี Leverage ที่ D/E
r0 = ผลตอบแทนหุ้นทุนที่ ไม่มี Leverage หรือที่ D/E = 0 
rd = ผลตอบแทนหุ้นกู้หรือต้นทุนเงินกู้ 
rk = r0 + (D/E) * (r0 - rd)
เราสามาสรุปแบบคร่าวๆคือ Expected return ของหุ้นที่มี D/E ต่างกัน จะต่างกันราว (D/E1 – D/E2)*r0 แต่ตัวปัญหาก็คือ r0 นี่แหละจะเท่าไรดี ซึ่งควรอยู่ระหว่าง rf (risk free rate) กับ rm (Market return rate)

แต่เอาละนั่นคือภาคทฤษฎี เราไม่ต้องพยายามหาตัวเลขเป๊ะๆหรอก เอาแค่รู้ว่าเมื่อ D/E ของหุ้นสองตัวไม่เท่ากัน หุ้นที่มี D/E สูงกว่าย่อมต้องการ Required of return สูงกว่า ถ้าโยงไปถึง P/E = b / (k-g) แม้จะมีอัตราการจ่ายปันผลเท่ากันและมี growth เท่ากัน แต่ P/E ก็ไม่เท่ากัน เพราะ k หรือ rk จะต่างกันเอาเท่านี้ก็คงพอนึกออกแล้วนะครับว่าทำไมหุ้นมันถึงขึ้นลงมากน้อย (ผันผวน) ต่างกัน ทำไมบางตัว P/E ถึงได้ต่ำแล้วต่ำอีก อุตส่าห์เลือกตัว P/E ต่ำกว่าอุตสาหกรรมยังติดดอยอีก

ส่วนการคีความ D/A คือ ให้อ่านความหมายว่าในการจัดหาสิทรัพย์นั้นใช้หนี้เท่าไร ใช้เงินส่วนของเจ้าของเท่าไร จากตัวอย่างเดิม D/E 0.4 มี D/A = 0.29 (หรือราว 0.3) แสดงว่าสินทรัพย์ 100 บาท กู้มา 30 เจ้าของลงทุน 70 ในการจัดหามา เหมือนกันจะดูว่าดีหรือไม่ก็ต้องเทียบกับอุตสาหกรรม แต่ตัวนี้ลูกเล่นในทางการเงินตรงๆ มีน้อยไม่เท่า D/E ดังที่กล่าวมา นักการเงินเลยไม่นิยมนักเพราะถ้าจะใช้ก็ต้องแปลงเป็น D/E 

ส่วนข้อ 3 Short-term Debt to Total Debt ขึ้นกับแต่ละอุตสาหกรรม เพราะแต่ละอุตสาหกรรมมี โครงสร้างสินทรัพย์หมุนนเวียน และไม่หมุนเวียนต่างกันไปตามลักษณะอุตสาหกรรม เช่นหุ้นอุตสาหกรรมผลิต (หุ้นโรงงาน) กับ โรงพยาบาล หรือ ค้าปลีก พาณิชย์ รับเหมาก่อสร้าง จะมีโครงสร้างตาม Common size แตกต่างกันไป หุ้นโรงงาน จะมี ส/ท ไม่หมุนเวียนราว 60% ของสินทรัพย์รวม จะเป็น ส/ท หมุนเวียน 40% ครึ่งหนึ่งส่วนนี้มักจะเป็นสินค้าคงเหลือ หากสินค้าควรได้เครดิตในการซื้อเกือบทั้งหมด แสดงว่าที่เหลือของ ส/ท หมุนเวียน ถ้าใช้เงินกู้ระยะสั้น ก็ควรใช้ราว 20% เพราะหนี้สินส่วนที่เหลือควรใช้หนี้ระยะยาวเพราะสินทรัพย์ที่เหลือคือ ส/ท ไม่หมุนเวียน และถ้า Current ratio ควรมากกว่า 1 แล้ว หนี้ระยะสั้นก็ควรยิ่งต้องน้อยลงอีก จึงควรที่จะไม่เกิน 30-40% ถ้ามากกว่านี้จะสันนิษฐานว่า มีการใช้เงินกู้ระยะสั้นผิดวัตถุประสงค์ (Unmatched) ไว้เรื่องโครงสร้างของอุตสาหกรรมและการวิเคราะห์นี้จะเขียนภายหลัง เพราะคือส่วนหนึ่งของ Common size analysis ที่ดูพื้นๆ แต่คนที่อ่านงบแบบวิเคราะห์ไม่ใช่อ่านแบบบัญชีจะได้ประญชน์ ยิ่งใช้กับ Trend Analysis แล้วอาจแทบไม่ต้องทำ Ratio analysis เลยด้วยซ้ำ

ยังมีการวัดความเสี่ยงทางการเงินอีกแบบหนึ่ง เป็นการวัดความสัมพันธ์ของต้นทุนคงที่ทางการเงิน (ส่วนใหญ่คือดอกเบี้ย) ของทุน ซึ่งหมายถึงเฉพาะหนี้สิน 
Leverage หมายถึงสิ่งที่สร้างความเสี่ยงให้กับธุรกิจ โดยทั่วไปความเสี่ยงของธุรกิจคือความผันผวนของกำไรหรือกระแสเงินสด ส่วน Leverage ในสูตรที่จะกล่าวถึงนี้จะหมายถึงรายการที่เป็นภาระที่ธุรกิจต้องจ่ายไม่ว่ารายได้จากการดำเนินงานจะเปลี่ยนไปอย่างไร การวัดภาระความเสี่ยงสามารถวัดได้ สองด้านคือ ระดับภาระความเสี่ยงทางการเงิน และระดับภาระความเสี่ยงในการดำเนินงาน 

เมื่อจะวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลต่อกำไรโดยรวม (DTL) จะช่วยให้เข้าใจธุรกิจได้มากนึ้น บางครั้งการเพิ่มทุน หรือจัดตั้งกองทุนอสังหา REIT หรือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเอาเงินมาลดหนี้สินลง โดยหวังลดดอกเบี้ยก็อาจไม่ได้ให้ประโยชน์เต็มที่เพราะความเสี่ยงโดยรวมที่กระทบต่อกำไร (DTL) อาจไม่ได้มาจาก DFL (ความเสี่ยงจากต้นทุนการเงิน) อย่างเดียว แต่อาจมาจาก DOL (ความเสี่ยงจากต้นทุนคงที่ในการดำเนินงาน)
โดยการวิเคราห์องค์ประกอบความเสี่ยงโดยรวมนี้ (DTL) มีดังนี้

1. The degree of financial leverage (DFL)
= % chg in net income / % chg in net operating income 
= EBIT / EBIT - I 

2. The degree of operating leverage (DOL)
= % chg in net operating income / % chg in sales 
= Contribution margin (income) / Contribution income - Fixed cost

3. The degree of total leverage (DTL)
= % chg in net income / % chg in sales
= Contribution margin / EBIT –I
= DFL * DOL 

-ค่าที่ยิ่งสูงของแต่ละตัวบ่งชี้ถึงภาระที่กิจการต้องแบกรับไว้มาก ยิ่งมากแสดงว่าความเสี่ยงยิ่งสูง สะท้อนถึงจุดคุ้มทุนที่ต้องสูงตามไปด้วย
-Operating Brake-even Point = Fixed Cost / Contribution Margin per Unit ค่า DOL แสดงถึงระดับการเปรียบเทียบอัตรากำไรส่วนเกิน (รายได้หักต้นทุนผันแปร) กับกำไรส่วนเกินส่วนที่เหลือหลังหักค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixes Cost) ซึ่งหมายถึงกำไรจากการดำเนินงาน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายทางการเงินหรือดอกเบี้ย) ค่าที่ยิ่งสูงแสดงว่ากำไรหลังหักค่าใช้จ่ายคงที่จากการดำเนินงาน ก็คือกำไรจากการดำเนินงาน (Contribution Income – Fixed Cost = operating Income) เหลือเพียงเล็กน้อย --- > 1- 1/DOL = FC/CM = ค่าใช้จ่ายคงที่ต่ออัตรากำไรส่วนเกิน
-Financial Break-even Point = EBIT = I, ความสัมพันธ์ ICR กับ DFL คือ 1/ICR = 1-1/DFL
-การวิเคราะห์เปรียบเทียบงวดต่องวด จะช่วยบ่งชี้ให้ผู้บริหารเห็นแนวโน้มภาระจากต้นทุนคงที่ทั้งด้านการดำเนินงานและต้นทุนทางการเงินว่าบริษัทรับภาระมากขึ้นน้อยลงอย่างไร จะช่วยสะท้อนจุดแข็งละจุดอ่อนอีกมุมหนึ่งทางด้านการเงินได้ แต่อัตราส่วนนี้วิเคราะห์จากงบบริษัทอื่นได้ยากเพราะเราไม่สามารถแยกต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรของบริษัทอื่นได้
-การวิเคราะห์ DOL นี้ อาจทำได้โดยการหา DFL และ DTL จากนั้นหาย้อนกลับจากสูตร DTL = DFL * DOL บริษัทที่มี DOL สูง การหาเงินทุนมาลดหนี้ย่อมไม่ช่วยอะไรได้มาก

1 ความคิดเห็น :

สงสัยอะไรถามได้ครับผม