วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักการย่อความ กับการเล่าหุ้น

หุ้นจะถูกจะแพงอยู่ที่การเล่าเรื่อง สินค้าที่ไม่มีเรื่องราวราคาจะถูก สินค้าเดียวกัน เรื่องเดียวกัน แต่พลิกกระบวนการเล่าเรื่อง มูลค่าจะเพิ่ม หุ้นก็เหมือนกันถ้าผู้บริหารเล่า story ดีๆ นังลงทุนเชื่อหุ้นก็ขึ้น แต่นักลงทุนหลายท่านเวลาวิเคราะห์หุ้นแต่ละตัวอ่านข้อมูลเยอะแต่สรุปประเด็นลงทุนไม่ได้ บางคนก็ฟุ้งหลุดประเด็นสำคัญไปก็มี ความรู้เรื่องการย่อความช่วยท่านได้สรุปเนื้อหายาวๆเหลือเพียง 4 ย่อหน้าได้มันเยี่ยมจริง

หลัการย่อความ

ถ้าย่อความเป็น จะเขียนหนังสือได้ดี อยู่ในกรอบ ไม่เพี้ยนออกนอกลู่นอกทาง คุณธนง ขันทอง ได้เขียนเรื่องการย่อความใน thanong fanclub เรื่อง จดหมายของLarry Summersเป็นแบบอย่างของการเขียนที่เป็นเลิศไว้ว่า

คนไทยเขียนหนังสือไม่เป็นกันโดยมาก เพราะไม่รู้โครงสร้างการเขียน และการดำเนินเรื่องของความคิด เนื้อหา หรือจุดประสงค์ นับจากความคิดริเริ่ม หรือประเด็นหรือข่าวที่จะสื่อ ไปจนจบกระบวนการของการเขียน

ลองอ่านจดหมายของSummers อีกครั้ง ถึงแม้ว่าเขาเป็นคนไม่ดี เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาของระบบการเงินสหรัฐฯ แต่เราต้องเรียนรู้การเขียนที่เป็นเลิศของเขา


Dear Mr. President,

I am writing to withdraw my name for consideration to be Chairman of the Federal Reserve.

It has been a privilege to work with you since the beginning of your Administration as you led the nation through a severe recession into a sustained economic recovery built on policies to promote employment and strengthen the middle class.

This is a complex moment in our national life. I have reluctantly concluded that any possible confirmation process for me would be acrimonious and would not serve the interests of the Federal Reserve, the Administration, or ultimately, the interests of the nation’s ongoing economic recovery.

I look forward to continuing to support your efforts to strengthen our national economy by creating a broad based prosperity and to reform our financial system so that no President ever again faces what you and your economic team faced upon taking office in 2009.

Sincerely yours,

Lawrence Summers

คุณธนงกล่าวว่างานเขียนทุกงานเขียน รวมทั้งบาทความ จดหมาย หรือหนังสือต้องประกอบด้วย


  1. เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ
  2. พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว
  3. ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่
  4. บทสรุปที่แลไปข้างหน้า


จากหลักนี้ เราสามารถย่อหนังสือยาวๆ เป็นพันหน้าเหลือแค่4 ย่อหน้าสั้นๆ ตามโครงสร้างที่ให้ไว้ข้างบน มันเยี่ยมจริง

การประยุกต์กับการลงทุน

ในการวิเคราะห์หุ้นมี 3 เรื่องที่ต้องวิเคราะห์คือพื้นฐานของกิจการ ตัวเร่ง และมูลค่า ยกตัวอย่างหุ้น AKR ลองดูแบบสั้นสุดตรีน

  1. เนื้อหาหรือประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะสื่อ : AKR ธุรกิจหม้อแปลงไฟฟ้ากำลังสดใส และผู้บริหารกำลังเร่งจบปัญหาเรื่องหนี้สินบริษัทย่อยซึ่งจะเป็นตัวปลดล็อกให้ตลาดเห็นคุณค่าของหุ้น
  2. พื้นเพหรือแบ็คกราวด์ของเรื่องราว : AKR จากธุรกิจหม้อแปลงมาระดมทุนในตลาดหุ้นเพื่อมาทำโรงงานผลิตแผงโซล่าเซล แต่รัฐบาลไม่สนันสนุนผู้ผลิตในประเทศทำให้แข่งขันกับแผงจากจีนไม่ได้ และลูกค้ายุโรปที่คิดว่าจะขายตอนแรกก็ไม่ตามนัด ผลคือมีโรงงานร้างพร้อมหนี้สิน 1300 ล้าน
  3. ประเด็นหักเห จุดไคลแมกซ์ ที่นำไปสู่ความเข้าใจใหม่  ธุรกิจหม้อแปลงก็ยังโตเรื่อยๆตามอุตสหกรรม ส่วนเรื่องบริษัทย่อยที่เห็นตัวถ่วง ต้นปี 55 AKR ได้เริ่มแก้ไขปัญหาโดยไปปรับโครงสร้างหนี้กับ TMB จนเหลือหนี้ต้องจ่ายจริงเพียง 800 ล้าน ภายใต้เงื่อนไขว่า ต้องขายโรงงานหาเงิน 300 ล้าน มาโป๊ะในต้นปี 57 และ 500 ล้านทยอยจ่าย 7 ปี
  4. บทสรุปที่แลไปข้างหน้า ในปีนี้หม้อแปลงคงไม่ใช่ปัญหานักลงทุนต้องลุ้นว่าปัญหาจะจบอย่างไร จะเงินมา300 ล้านมาทันในปี 57 หรือไม่ซึ่งก็มีหลายแนวทาง
    -- เพิ่มทุน
    -- refinance แบงค์อื่นมาโป๊ะ
    -- ขายสินทรัพย์
    เชิญลุ้นกันตามอัธยาศัยว่าจะออกช่องใหน

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม