วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ข้อผิดพลาดที่ทำให้ตีความงบการเงินชีผิดเพี้ยนไป

บทความจาก อ.สรรพงศ์ ลิมป์ธำรงกุล [1][2] เขียนอธิบายข้อผิดพลาดที่พบบ่อยของนักลงทุนในการตีความข้อมูลตัวเลขจากบัญชี-งบการเงินชีผิดเพี้ยนไป ได้อ่านง่ายมากครับ เยี่ยมจริงๆ เชิญอ่านโดยพลัน

1. อัตราส่วน Current Ratio ตัวนี้ดูง่ายๆ แต่ทำคนหลงประเด็นมาก ส่วนมากดูกันว่า > 1 ก็โอเคแล้ว อาจไม่ใช่เสมอครับ มีประเด็นที่ทำให้ผิดเพี้ยนในการใช้และตีความอยู่สามประเด็นหลักๆคือ

  • 1.1 ไม่ตรวจสอบว่าสินทรัพย์หมุนเวียนอาจมีมูลค่าเทียมแฝงอยู่ เช่นลูกหนี้ตั้งหนี้สงสัยจะสูญน้อยไป สินค้าก็มีรอบยาวมาก ไม่มีการตีมูลค่าให้เหมาะสม (ตั้งค่าเผื่อ) แบบนี้ก็ได้ CR สูงเกินไปทำให้คิดว่ากิจดารไม่มีปัญหาสภาพคล่อง
  • 1.2 วัฏจักรของธุงกิจมีผลต่อ CR ช่วง Growth Stage ค่า CR ไม่ต้องสูงมากก็ได้ เพราะช่วงนี้ขายคล่องเก็บเงินคล่อง สินค้าก็หมุนเร็ว ตัวสินทรัพย์หมุนเวียนมันจะเปลี่ยนเป็นเงินสดเร็ว บางคนอาจคิดว่า เงินสดก็ต้องมากสิ อาจใช่แต่เป้าหมายธุรกิจข้อหนึ่งคือ Mame Profit (เคยเขียนไว้แรกว่า เป้าหมายธุรกิจที่ดี คือต้อง Make Profit, Generate Cash Flow, Stay Solvency ทำทุกข้อไม่ใช่แค่ทำกำไรสูงสุดอันนี่โบราณแล้ว) ดังนั้นเมื่อมีเงินสดเหลือมากธุรกิจก็จะเปลี่ยนเงินสดไปเป็นสินทรัพย์ทำเงิน เช่นซื้อสินค้า ขยายกำลังการผลิต ขยายสาขา วัฏจักรนี้จึงเห็นการฌติบในสินทรัย์ไม่หมุนเวียนสูง ส่วนในช่วง Recession (Declining) Stage ค่า CR ควรต้องสูงขึ้น เพราะ ส/ท หมุนเวียนเริ่มหมุนช้าลงแต่ภาระจ่ายหนี้สินยังมีรอบหมุน (ระยะเวลาจ่าย) เท่าเดิม แต่ต้องอย่าลืมว่าต้องดู 1.1 ด้วยว่าไม่มี ส/ม หมุนเวียนเทียม
  • 1.3 CR ที่สูงกว่า 1 มากๆ ไม่ใช่ว่าดีเสมอ เพราะอาจไม่มีประสิทธิภาพในการบริหาร ส/ท หมุนเวียนก็ได้ เช่นเก็บหนี้นานกว่าอุตสาหกรรม เพราะใช้กลยุทธ์แข่งขันการขายด้วยการให้เครดิตการค้านานกว่าคู่แข่ง แสดงว่าแบรนด์ไม่แกร่งจริง ซื้อของมาตุนไว้มากเกินไป อาจจะดูปกติในช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรม ถ้าเกิดการผลิกผัน ปีหน้าขาลง จะเกิดผลเสียหายได้
    การอ่านค่า CR (current ratio) ถ้าอ่านและตีความเป็นแล้วบอกได้หลายมุมของธุรกิจทีเดียว ผมจะใช้คู่กับ วงจรเงินสดด้วย (แนะนำให้ไปดูเพิ่มในบทความเก่าๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ทั้งสองหัวข้อประกอบ)


1.2 รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ เป็นปัญหาทางการบัญชีที่ต้องเข้าใจ รายการนี้จะแสดงบนพื้นฐานราคาทุนหักค่าเสื่อมสะสมและการด้อยค่า (ถ้ามี) การเปรียบเทียบสองกิจการที่เริ่มต้นในเวลาต่างกันมากอาจเป็นปัญหาได้ แม้ว่ามาตรฐานการบัญชีจะอนุญาตให้รายการนี้ตีราคาใหม่ได้ แต่ก็มีบางกิจการไม่เลือกตีใหม่เพราะ ไม่ได้อะไรมาก การตีรคาใหม่ส่งผลต่ออัตราส่วนหลายตัวคือ

หนึ่ง D/E ลดลง เพราะส่วนที่ตีราคาเพิ่มขึ้นจะทำให้กำไรสะสมเพิ่ม ส่วนทุนเพิ่ม ค่าD/E ก็ลดลง
สอง ค่า P/BV ลดลง ทำให้ราคาหุ้นดูแล้วถูกลง แต่ไม่ทำให้ P/E ลดลง ดังนั้นระวังอย่าเลือกหุ้นโดยดู P/BV อย่างเดียว
ในรายการนี้ควรมองในหมายตุประกอบงบการเงินกว้างๆ ว่ามีรายการเพิ่มลดผิดสังเกตหรือไม่ และอายุการใช้งานที่ตัดค่าเสื่อมเป็นอย่างไรใกล้เคียงอุตสาหกรรมหรือไม่ ถ้าภาพรวมๆ ผ่าน ก็ไม่ต้องติดใจใดๆแม้จะตั้งธุรกิจต่างเวลากัน

1.3 การวิเคราะห์ให้ดูงบรวมเป็นหลัก และให้ถือว่าบริษัทย่อยคือสาขา ส/ท และ น/ส บริษัทย่อยคือของบริษัท มีไม่กี่กรณีที่จะไปดูงบเดี่ยว (งบเฉพาะ) รายการเงินลงทุนในงบรวม เหลือเพียงสองกลุ่มคือ งลท.ในบริษัทร่วม และ งลลท.อื่น งลท.ในบริษัทร่วมจะแสดงด้วย Equity method ในงบเฉพาะนั้นทั้งบริษัทยอยและร่วมจะแสดงด้วยราคาทุนเท่านั้น และไม่บันทึกส่วนแบ่งกำไร แต่ในงบการเงินรวมจะแสดงส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) ดังนั้นมูลค่างลท.ในบริษัทร่วม คือมูลค่าที่รวมผลกำไรสะสมหักปันผลที่จ่ายคืนมายังบริษัทแล้ว ดังนั้นการตีความและวิเคราะห์รายการนี้ สำหรับบริษัทหลายแห่งมีเงินลงทุนในบริษัทร่วมเกือบ 20% หรือมากกว่าของสินทรัพย์รวม
สัดส่วนที่สูงมากเช่นนี้เมื่อวิเคราะห์งบการเงินต้องระมัดระวัง เพราะคำว่าบริษัทร่วมหมายถึงบริษัทอื่นที่บริษัทเข้าไปถือหุ้น ระหว่าง 20% - 50% มากกว่านี้ต้องเอามาทำงบการเงินรวม น้อยกว่า 20% ถือเป็น งลท.ระยะยาวอื่น ความแตกต่างของ งลท ย่อย ร่วม และอื่นคือ ย่อยนั้นถูกมองเป็นสาขาดังนั้นรายได้ ค่าใช้จ่ายถือเป็นส่วนหนึ่งของแม่ รายการซื้อขายระหว่างกันไม่เอามาคิด เหมือนกับการส่งของระหว่าง สนญ.กับสาขาเท่านั้น กำไรขาดทุนก่อน (หรือไม่รวม) ส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากเงินลงทุนซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสีย คือที่สนญ.และสาขาทำได้ ในการแสดงรายการบางบริษัทก็รวมส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนในหัวข้อรายได้ด้านบน บางกิจการแยกแสดงต่างหากหลังกำไรขาดทุนก่อนส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุนจากเงินลงทุน ทำได้ทั้งสองแบบ เพราะสุดท้ายกำไรขาดทุนสุทธิเท่ากัน ในการอ่านงบต้องระวัง เพราะบริษัทที่รวมในบรรทัดรายได้ด้านบนมีสองนัยซ่อนอยู่ คือ
หนึ่ง บริษัทแม่มีกำไรไม่โดดเด่นและเอาส่วนแบ่งกำไรมาเพิ่มในรายได้รวมให้ดูสูง หลายคนเวลาวิเคราะห์อัตราส่วนที่ใช้ยอดขายบางทีเผลอเอายอดรายได้รวมไปใช้ ทำให้อัตราส่วนผิดเช่น RT (Receiviable Turnover) อัตรากำไรขั้นต้น (GM) บางคนเผลอเอารายได้รวมลบต้นทุนขาย เท่ากับกำไรขั้นต้น เมื่อส่วนแบ่งกำไรสูงก็อาจผิดได้
สอง ในทำนองกลับกันเนื่องจากการลงทุนไม่มีประสิทธิภาพ การรวมไว้ทำให้คนอ่านงบข้ามเรื่องเงินลงในบริษัทร่วมไป เพราะแม้จะเผลอทำแบบที่หนึ่งที่กล่าวมาก็ไม่ผิดเพี้ยนมากนัก แต่ถ้ามาวิเคราะห์ประสิทธิผลของเงินลงทุนจะพบว่าต่ำมาก บริษัทที่มีสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัทร่วมมากกว่า ¼ ของสินทรัพย์รวมต้องระวัง

1.4 เรื่องใกล้ๆกันคือค่านิยม ค่านิยมมีในงบการเงินรวมเท่านั้น มาจากเมื่อเอางบแม่และลูกมารวมกัน ปกติ (เพื่อให้เข้าใจง่ายๆ) ก็เอาสินทรัพย์มาบวกกันตรงๆตามรายการ ทีนี้ถ้าซื้อมาที่ราคาทุนตามบัญชี เงินลงทุนในงบมีก็จะเท่ากับส่วนทุนลูกตามสัดส่วนพอดี งบรวมต้องเอาสองรายการนี้มา offset (หักกลบกัน) ก็ไม่มีค่านิยม (ซื้อสูงกว่าราคายุติธรรม) ถ้ามีค่านิยมแสดงว่าซื้อมาสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม ซึ่งมูลค่านี้มักมาจากการตีราคา ส/ท ใหม่ที่ราคาตลาด บางบริษัทมีค่านิยมมากกว่า 40-50% หรือกว่านั้น ค่านิยมนี้ไม่มีการตัดจำหน่ายแล้วตามมาตรฐานบัญชีใหม่ ซึ่งมองว่ามันคือส่วนหนึ่งของเงินลงทุน และบริษัทร่วมซื้อมาแพงแค่ไหนก็อยู่ในเงินลงทุน ไม่ได้แยกมาเป็นค่านิยม ดังนั้นเมื่อเห็นค่านิยมแปลว่าซื้อย่อยมาสูงกว่ามูลค่ายุติธรรม จะคุ้มหรือไม่เวลาวิเคราะห์อย่าดูแยกส่วนต้องมองว่าคือสาขาที่เลาเงินไปลงทุน มองภาพรวม ดู ROA D/E GM NM บางบริษัทที่กำลังไปเทคมา (ค้าปลีก) บอกข่าวว่าไปซื้อแท่นพิมพ์ธนบัตรมาคุ้มมากๆ ผมจะไม่สนใจไปมากกว่า ใส่เงินทำสาขาไป 1.88 แสนล้าน ถ้าคิดแบบง่ายๆ ของเดิมได้ ROA ราว 17.5% สาขาใหม่ต้อง gen รายได้สุทธิ ราว 3.3 แสนล้าน ปัจจุบันทำกำไรราว 3.6 แสนล้าน ก็ถือว่าพอเสมอตัวสูงกว่าเล็กน้อย ดังนั้นจะเรียกเครื่องปั๊มเงินคงไม่ใช่เสียทีเดียว และผมมักขี้สงสัย บรษัทถูกซื้อมีรายได้และกำไรกระโดดผิดปกติในช่วงก่อนเทคโอเวอร์ ทั้งที่ก่อนหน้าโตคงที่เรื่อย 4-5 ปีราว 12-13% พอมาปีล่าสุดกระโดไปทันที 15% ส่วนมากก็ SME กำลังซื้อก็ไม่ได้เพิ่มมากมายนัก จึงยังสงสัยว่าสร้างภาพหรือไม่ วิเคราะห์ออกหัวข้อไปหลายเรื่องเลย แต่จะชี้ให้ดูว่าข้อมูลตัวเดียวในงบก็บอกเรื่องราวได้มาก ถ้าเข้าใจจริงและเชื่อมโยงเป็น
1.5 ที่ใกล้ๆกันมาจากที่มาเดียวกันก็คือ กำไรต่อรองจากการซื้อ เกิดขึ้นเมื่อบริษัทไปซื้อกิจการอื่นในราคาต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรม รายการนี้ต้องระวัง ควรมองว่ามันคือ one-time gain ความผิดเพี้ยนในการใช้ข้อมูลคือ เมื่อหลายคนนะไปวิเคราะห์การเติบโตกำไร ไม่ว่าเพื่อประเมิน PEG หรือใช้ประมาณการหาราคาใน DCF Model ถ้าเอากำไรตัวนี้ไมใช้หาค่า Earning growth จะได้ผลที่เบี่ยงเบนการตัดสินใจต้องเอาออกในการประเมินมูลค่า เพราะสุดท้ายแค่บรษัทไม่มี ส/ม โป่งพองเกินไป ในระยะยาวไม่ต้องเหนื่อยมากเท่านั้น แต่มันไม่ได้สัมพันธ์กับรายได้จริงที่จะเติบโตของทั้งกลุ่มเลย รายการนี้เกิดเมื่อมีการซื้อบริษัย่อย

1.6 กำไรสะสม ในยุคใหม่ หลังมีการใช้งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ หลายคนเวลาอ่านงบการเงินมักคิดว่า กำไรสะสมคือกำไรที่ยังเก็บไว้ในบริษัท สามารถจ่ายปันผลในอนาตตได้ ถูกครับแต่ไม่หมด ในอดีต (ก่อนมีการใช้งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ) มันเป็นเช่นนั้น แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว อดีต ส่วนนี้ แยกออกมาเป็นกำไรที่จัดสรร กำไรที่ยังไม่จัดสรร ส่วนเกินทุนจากการตีราคาสินทรัพย์ กำไรขาดทุนจากเงินลงทุนเผื่อขาย กำไรขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงจากกระแสเงินสด (Cashflow hedging) ผลต่างจากการแปลงค่างบการเงิน (จะเกิดขึ้นเมื่อมีบริษัทย่อยในต่างประเทศ) รายการเหล่านี้เมื่อก่อนแสดงแยกภายใต้หัวข้อส่วนของผู้ถือหุ้น เดี๋ยวนี้เอามายำรวมกันใน บางทีแยกยังไม่จัดสรรกับสำรองตามกฎหมายให้ (ซึ่งไม่มีประโยชน์เท่าไรเลย) แต่ก็มีบางบริษัทยังแจงแบบเดิมแยกรายการ ทำได้ทั้งนั้น แต่เห็นนิยมยำรวมกันมากกว่า เพระฉะนั้นเวลาอ่านงบถ้ามีด้วนๆ สั้นๆ แปลว่ายำรวมหมด อยากรู้รายละเอียดต้องไปดูงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเอา ให้มองว่ากำไรสะสมโดยรวม (แบบยำ) แสดงถึงความมั่งคั่งที่กิจการสะสมมา ซึ่งมีทั้งกำไรสุธิที่คงเหลือสะสมมา ส่วนเกินต่างๆ อย่ามองว่ามีเยอะจะได้ปันผลเยอะ ความจริงปันผลควรมาจากกำไรประจำปีมากกว่า การสะสมควรเกิดจากอัตราปันผลจ่ายที่เหมาะสมเพื่อให้เกิด Sustainable growth ไม่ใช่จ่ายเท่าไรก็จ่าย เก็บไว้จ่ายในอนาคต นี่ถือว่าผิดหลักการบริหารการเงิน เรื่องนี้ เขียนเน้นหลายครั้ง การเลือกลงทุนระยะยาวผมจะดูตัว growth นี้ด้วย ไม่ชอบบริษัทที่เอะอะก็เพิ่มทุน ไม่เน้นพอร์โต แต่เอาแบบชีวิตไปได้อย่างสบายๆ ไม่เดือดร้อนและไม่ชอบให้บริษัมมากวนขอเงินเพิ่มทุน หน้าที่เขาคือจ่ายปันผลดีๆอย่างเดียว บริษัทที่จ่ายอัตราปันผลไม่เหมาะสม ระยะยาวไม่เพิ่มทุนลด D/E ก็จะมี ROE ลดลง หนีไม่พ้นต้องจ่ายหุ้นปันผลและไล่ซื้อหุ้นคืน เดือดร้อนให้ผมต้องมานั่งเทรดเอาตังคืน เพราะผ่านมาไม่ยอมจ่ายปันผลอัตราที่ปกติควรจ่าย

1.7 ส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อย ส่วนนี้คือส่วนที่บริษัทไม่ได้เข้าไปถือครองครอง เช่น ทุนบริษัทย่อยตามราคายุติธรรม 300 ล้านบาท บริษัทเข้าไปถือเพียง 80% นั่นคือจ่ายซื้อ 240 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ 60 ล้านบาทจะแสดงไว้ที่รายการนี้ เคยมีคนถามผมในเว็ปบอร์ดวีไอ (เดี่ยวนี้ไม่ได้เข้าไปแล้วเพราะเข้าไม่ได้ เมื่อก่อนมีคนเขาเชิญไปช่วยตอบเลยเข้าได้ พอปรับปรุงเว็ปเข้าไม่ได้เลย) ว่ารายการส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อยทำไมมันถึงมีมากเกือบเท่าส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่ ปกติรายการนี้มักจะพบว่าไม่มากนัก แต่ในกรณีที่ถามซึ่งคือบริษัท ทุนธนชาต มีส่วนของบริษัทใหญ่ 44,845 ลบ ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุม 45,441 ลบ ทำไมมากกว่า การเจอตัวเลขแบบนี้พอเห็นก็ทราบได้คร่าวๆเลยว่า บริษัทใหญ่ไปถือราว 50% (ปริ่มๆ) เมื่อไปดูรายละเอียดบริษัทย่อยพบว่าถือธนาคารธนชาตอยู่ 50.96% โดย story คือ ธนาคารธนชาตได้ควบรวมกับธนาคารนครหลวงไทย มีสินทรัพย์รวมกันราว 951,000 ลบ มีสินเชื่อราวราว 759,000 ลบ ปกติธนาคารจะปล่อยกู้ราว 11-12 เท่าของทุน ดังนั้นทุนจะมีคร่าวๆราวในช่วง 80-90 ลบ ถ้าถือ 50% ก็จะมีส่วนที่ไม่มีอำนาจควบคุมราว 40-45 ลบ ถือว่า make sense นี่เป็นเพียงตัวอย่างการอ่านตัวเลขจากงบแล้วตีความ เราไม่ต้องเอาอะไรที่เป๊ะๆ สำหรับบางรายการ เพียงแต่ดูแล้วเห็นภาพรวมบริษัทว่ามีอะไรตรงไหน ก็เพียงพอเพราะเมื่อเราจะลงทุนหุ้นใด เราต้องทราบ Character และ Structure จะได้รู้ว่ากำไรจะมาจากไหนเท่าไร ความเสี่ยงของหุ้นมีอะไรบ้าง
คราวนี้ในการประเมินบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารจะดูอย่างไร (ธนาคารจะซับซ้อนหน่อย และ TCAP ไม่เปิดเผยงบเฉพาะโดยตรงแต่กระจายในหมายตุ จึงยากกกับนักลงทุนทั่วไป พอดีผมพอรู้เรื่องโครงสร้างธุรกิจธนาคารจึงประเมินง่ายหน่อย) สำหรับบริษัททั่วไปให้ดูภาพรวมง่ายๆคือ เอาส่วนของผู้มีส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมของบริษัทย่อยในงบรวม หารด้วยเงินลงทุนในบริษัทย่อยในงบการเงินเฉพาะ ก็จะได้ภาพรวมทั้งหมดคร่าวๆว่าบริษัทแม่ถือบรษัทย่อยเฉลี่ยรวมๆราวกี่ % หลายคนอาจบอกว่าบริษัทลงทุนตั้งหลายสิบบริษัท บางแห่งเกือบร้อย ผมบอกว่าไม่ต้องกังวลมากเลย เพราะบริษัทที่มีขนาดเล็กๆ ถือ 100% กับบริษัทย่อยที่มีขนาดใหญ่ เพียง 60% ภาพรวมก็จะได้ออกมาราวๆ 60% นิดๆ ค่า%เฉลี่ยรวมนี้จะถ่วงน้ำหนักไปในตัวแล้ว รายได้จากบริษัทย่อยใหญ่จะมีผลต่องบรวมมากกว่าบริษัทย่อยเล็กอยู่แล้ว ต่อให้โตสองเท่าก็ไม่ส่งผลมาก และปกติบริษัทลงทุนในบริษัทย่อยจะใช้กลยุทธ์ลงทุนในธุนกิจที่ส่งเสริมกันกับบริษัทแม่ เช่นลงทุนใน upstream หรือ downstream เป็นรูปแบบ Vertical Investment Strategy ถ้าลงทุนแบบ Horizntal Investment Strategy จะต้องแสดงงบจำแนกตามส่วนงาน (Segment Report) ในช่วงท้ายๆของหมายเหตุประกอบงบการเงิน ในการวิเคราะห์เช่นนี้ทำให้เรามองเห็นด้านคุณภาพมากขึ้น บางบริษัทมีเงินลงทุนในย่อยคิดเฉลี่ยเพียง 60% กำไรส่วนของบริษัทใหญ่ก็ได้ประโยชน์มาเพียง 60% มีผลต่อตัวเลขการเติบโต EPS ที่ได้รับมาเพียง 60% เช่นกัน

1.8 กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน เรื่องนี้มีมากหลายระเด็นทีพูดกันได้เยอะมาก แต่สิ่งสำคัญและเกือบทุกกคนเผลอนำไปใช้ผิดบ่อยสุดคือ กระแสเงินสดตัวนี้มาตรฐานบัญชีอนุญาตให้แสดงได้ด้วยก่อนหักเงินสดจ่ายดอกเบี้ย (หรือต้นทุนการเงิน) รายการนี้ไม่ใช่ตัวบวกกลับนะครับ บางคนงงมากว่าทำไมต้องปรับปรุงกำไรสุทธิด้วยการบวกดอกเบี้ยจ่ายแล้วหักด้ายเงินสดจ่ายดอกเบี้ยจ่าย เข้าใจง่ายๆคือเอารายการทางบัยชีบวกกลับทั้งหมด แล้วมาหักใหม่ด้วยตัวเลขที่เป็นเงินสดภายหลัง เพราะดอกเบี้ยจ่ายมีทั้งรายการที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน (ตั้งค้างจ่าย) บวกกลับในกำไรก่อนทั้งหมด แล้วค่อยมาหักใหม่อีกที รายการภาษีก็เช่นกัน
รายการกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานสุทธินี้นำไปใช้คำนวณหลายค่า เช่น คุณภาพกำไร (QE = CFO/NI)
Modified ICR = CFO/I บางบริษัทกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานแสดงด้วยยอดที่หักดอกเบี้ยจ่ายเงินสด บางบริษัทแสดงด้วยยอดที่ยังไม่หักดอกเบี้ยจ่ายเงินสด ในสูตรที่เกี่ยวข้องกับการใช้ CFO ต้องเป็นกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานหลังหักดอกเบี้ยเงินสดเท่านั้น วิธีสังเกตง่ายๆเร็วคือไปดูกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินว่ามีรายการหักดอกเบี้ย (ต้นทุนทางการเงิน) หรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานแสดงด้วยยอดที่ยังไม่หักดอกเบี้ยจ่ายเงินสด
[1]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201223305163128
[2]https://www.facebook.com/sanpong.limthamrongkul/posts/10201228814700863

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

สงสัยอะไรถามได้ครับผม