เพื่อนๆหลายคนเองได้ยิน Warren Buffets กล่าวว่า
"EBITDA เป็นตัวเลขที่นักวิเคราห์กล่าวอ้างไม่ได้มีความสำคัญอะไรเลย"
ทำให้หลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญกับ EBITDA เพราะตีความคำพูดของ Warren
Buffets ผิดไป จริงๆแล้วตัวเลขตัวนี้มีความสำคัญมากครับ
1.ความหมายของ EBITDA
EBITDA = Earning Before Interest Tax Depreciation and Amortization
แปลเป็นไทยก็คือ กำไรก่อน ดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย EBITDA นิยมใช้วัด Performance ของบริษัทที่เป็นพวกโรงงานมีค่าเสื่อมสูงๆ เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ
สมมุติ สมชาย เป็นเจ้าของ Apartment แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่มีหนี้สินอะไร สมชายต้องการยก Apartment ให้ลูกชายไปบริหารต่อ โดย Apartment มีกำไรขาดทุนดังนี้ แต่สมชายขอร้องลูกชายว่าห้ามขาย Apartment แห่งนี้ซึ่งเป็นสมบัติของตระกูล
กำไรขั้นต้น(Gross Profit) 50,000 บาท
ค่าบริหารจัดการ(Admin) 30,000 บาท
ค่าเสื่อมราคา(Depreciation) 30,000 บาท
กำไรก่อนภาษี -10,000 บาท
ตัว ลูกชายพอเห็นงบการเงินแล้วก็ได้ปฎิเสธพ่อ ไปอย่างสุภาพว่า ไม่เอาครับ พ่อ Apartment พ่อบริหารขาดทุนนี่ ผมเอามาแล้วนอกจากไม่มีกำไรยังต้องควักเงินส่วนตัวไปสนับสนุนอีก
- ถามว่าลูกชายสมชายถูกหรือผิดอย่างไรครับ?
ถ้า ใครตอบว่าลูกสมชายถูกแสดงว่ายังไม่เข้าใจเรื่องบการเงิน กับเรื่องกระแสเงินสด จริงอยู่ที่ Net Income ของ Apartment แห่งนี้ติดลบแต่ หากดู EBITDA จะเป็นบวกนะครับ EBITDA = + 20,000 THB หมายความว่า Apartment แห่งนี้ยัง Generate เงินสดให้สมชายอยู่ถึงเดือนละ 20,000 บาทเลยทีเดียว
ตัว Depreciation นั้น เป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า Sunk Cost ครับ คือ Cash ส่วนนี้ได้ออกจากบริษัทไปนานแล้วแต่ที่ยังโชว์ในงบการเงินเป็นไปตามหลักการ Cost-Revenue Matching ครับ
ดังนั้นหากบริษัทที่เราสนใจมี Net Income ติดลบ แต่ EBITDA เป็นบวก ก็เป็นหลักประกันระดับหนึ่งว่าธุรกิจอาจจะไม่แย่อย่างที่คิด เราคงต้องมาวิเคราะห์กันก่อนว่าสาเหตุมาจากอะไร
- ติดลบจากค่าเสื่อมราคา( Depreciation): ต้องมองลึกไปดูนโยบายตัดค่าเสื่อมว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ บางบริษัทใช้นโยบายตัดค่าเสื่อมเร็วเพื่อโชว์ Net Income น้อยๆเพื่อประหยัดภาษี ปีแรกๆจะค่าเสื่อมเยอะ แต่พอตัดค่าเสื่อมสินทรัพย์หมด ก็กำไรเต็มๆ
- ติดลบจากบรรทัดค่าใช้จ่ายทางการเงิน( Interest): อาจจะเป็นไปได้ว่าโครงสร้างทางการเงินของบริษัทไม่ดี เช่นมีสัดส่วนหนี้สินต่อทุนมากเกินไป ถ้ามีการปรับโครงสร้างหนี้( restructure) บริษัทก็จะเป็นสัญญานของการ turnaround ได้
นี่เป็นสาเหตุที่นักวิเคราะห์หุ้น Turnaround มักจับจ้องตัวเลข
EBITDA โดยถ้าบริษัทขาดทุนเป็นเวลานานๆแล้วปีไหน EBITDA พลิกกลับมาเป็นบวก
ก็เป็นสัญญานว่าอาจจะพลิกฟื้นกลับมาได้
ตัวอย่าง
หุ้น HOTPOT ใครๆก็ว่าไม่ดีครึ่งปี 2556 ยอดขายตั้ง 1162 ล้านบาทแต่เหลือกำไรสุทธิแค่ 23.39 ล้านบาทเอง แต่ถ้าดูค่าเสื่อมราคาที่สูงถึง 75 ล้านบาท ทำให้บริษัทมี EBITDA ถึง 111 ล้านบาท ก็น่าสนใจว่าทำไมทำธุรกิจแล้วไม่คุ้มค่าเสื่อม จำนวนลูกค้าน้อยไปหรือเปล่า
หุ้น AKR ใครๆก็ว่าไม่ดี ปี 2554 ขาดทุน 105 ล้านบาท แต่ EBIT เป็นบวก 105 ล้านบาท ติดลบเยอะๆ มาจากดอกเบี้ยจ่ายที่สูงมาก เพราะต้องจ่ายในอัตราผิดนัดชำระหนี้
แต่ถ้าบริษัทปกติผมจะมอง EBITDA เที่ยบกับค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย ถ้าบริษัทไหนที่ EBITDA สูงก่าค่าเสื่อมมากๆ ก็แปลว่าใช้สินทรัพย์ได้เก่งกว่า ถ้าดูงวด 6 เดือนเทียบกัน
จะเห็นว่า AKR ทำ EBITDA ได้มากกว่าค่าเสื่อมถึง 2.84 เท่า ถ้ามองค่าเสื่อมเป็นต้นทุนคงที่ตัวนึง บริษัทที่มีต้นทุนคงที่สูงๆ และทำกำไรได้แค่ปริ่มๆค่าเสื่อม กำไรจะผันผวนกว่า คนที่ถือก็จะเสียวๆ
EBITDA ละเลย ค่าใช้จ่ายงบลงทุน (Capex) เพื่อให้กิจการยังคงสภาพเดิม หรือคงความสามารถในการแข่งขันได้ (matainant Capex) ดังนั้น Warren Buffets จึงแนะนำให้ใช้ Free cash flow จะดีกว่าครับ
AKR |
แต่ถ้าบริษัทปกติผมจะมอง EBITDA เที่ยบกับค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย ถ้าบริษัทไหนที่ EBITDA สูงก่าค่าเสื่อมมากๆ ก็แปลว่าใช้สินทรัพย์ได้เก่งกว่า ถ้าดูงวด 6 เดือนเทียบกัน
- HOTPOT EBITDA/DA = 111.41/75.6 = 1.47
- AKR EBITDA/DA = 132.58/46.68 = 2.84
จะเห็นว่า AKR ทำ EBITDA ได้มากกว่าค่าเสื่อมถึง 2.84 เท่า ถ้ามองค่าเสื่อมเป็นต้นทุนคงที่ตัวนึง บริษัทที่มีต้นทุนคงที่สูงๆ และทำกำไรได้แค่ปริ่มๆค่าเสื่อม กำไรจะผันผวนกว่า คนที่ถือก็จะเสียวๆ
2.ข้อควรระวังของ EBITDA
EBITDA ละเลย ค่าใช้จ่ายงบลงทุน (Capex) เพื่อให้กิจการยังคงสภาพเดิม หรือคงความสามารถในการแข่งขันได้ (matainant Capex) ดังนั้น Warren Buffets จึงแนะนำให้ใช้ Free cash flow จะดีกว่าครับ
สมมติว่า ในแต่ละปี ลูกชายจะต้องใช้เงินสด เพื่อลงทุน ตกแต่ง
ปรับสภาพให้ Apartment คงความสวยงาม ลูกค้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง
โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาสภาพนี้ ปีละ 10,000 บาท นอกจากนี้ทุกๆ 5 ปี
จะต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ ใช้งบลงทุน 50,000 บาท
นั่นคือ
นั่นคือ
- ปีที่ 1 = 10000
- ปีที่ 2 = 10000
- ปีที่ 3 = 10000
- ปีที่ 4 = 10000
- ปีที่ 5 = 10000+50000 = 60000
รวมทุกๆ 5 ปี ต้องมีค่าใช้จ่ายลงทุนปรับปรุง Apartment 100,000 บาท
ในขณะที่ EBITDA ปีละ 20,000 บาท >>> 5 ปี = 100,000 บาท
เท่ากับว่าทำธุรกิจมา ก็ไม่ได้เงินสดคืนมาให้ตัวเองเลย
ตัวอย่างในตลาด
SAFARI |
นอกจากงบลงทุนแล้ว EBITDA ยังไม่ได้หัก เงินทุนหมุนเวียนคือเงินที่ต้องนำไปลงทุนใน ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ และเจ้าหนี้การค้า
ยังไม่พอ EBITDA ยังไม่ได้หัก ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากต้นุของเงินทุนเช่นดอกเบี้ย และการจ่ายเงินต้น
ดังนั้น EBITDA จึงเป็นกำไรในรูปเงินสด ต่างกับ Free cash flow ตรงที่ยังไม่ได้หัก การเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน CAPEX และการจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้น
3.อัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วิเคราะห์ EBITDA
อัตราส่วนแรกเลยคือ EBITDA margin คำนวณจาก EBITDA/รวมรายได้ จะบอกว่ารายได้ 100 บาทสามารถสร้างเป็น EBITDA ออกมาได้เท่าไร ยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่อย่าลืมว่า EBITDA ไม่ได้หักค่าเสื่อมซึ่งก็คือเงินลงทุนหรือ CAPEX ในอนาคตนั่นเอง
อัตราส่วนต่อมาคือ EBITDA/DA หรือ EBITDA ต่อ ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย บริษัทที่สามารถทำ EBITDA ได้มากกว่าค่าเสื่อมเยอะๆ แสดงว่าสามารถนำสินทรัพย์ไปทำกำไรได้มากกว่าการเสื่อมค่าลงของสินทรัพย์ ยิ่งเยอะยิ่งดี
บริษัทที่เพิ่งเริ่มลงทุน EBITDA มักเลยค่าเสื่อมไปไม่มาก เนื่องจากรายได้ยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน ทำให้กำไรค่อนข้างผันผวนถ้ารายได้เปลี่ยนแปลงไปนิดเดียว กำไรมันจะผันผวนตามไปด้วย
อีกประเด็นหนึ่งคือบริษัทที่มี EBITDA/DA ใกล้ๆ 1 ต่อเนื่องหลายๆปี แสดงให้เห็นว่าบริษัทมีการจัดการภายในที่ไม่ดีเช่นกัน
3.การประเมินมูลค่าด้วย EV/EBITDA
เป็นอัตราส่วนครับคืออัตรส่วน EV / EBITDA โดยที่ EV, enterprise value คือสิ่งที่คุณจ่ายคำนวณมากจาก มูลค่าตลาดของหุ้น + มูลค่าตลาดของหนี้ - เงินสด ตีความเหมือนเราซื้อสินทรัพย์ที่ปลอดหนี้ เที่ยยบกับสิ่งที่ได้รับคือ EBITDA อัตราส่วนนี้ยิ่งต่ำยิ่งดี แต่การใช้การจะดูคู่กับ ค่าใช้จ่ายงบลงทุน เพื่อให้กิจการยังคงสภาพเดิม หรือคงความสามารถในการแข่งขันได้ (reinvestment) ถ้าบริษัทไหนมี EV / EBITDA ต่าๆ และ reinvestment ต่ำด้วยจะดีมากเหมือนว่าเงินสดของกิจการก็เอามาใช้ได้เกือบหมด
แต่ปัญหาก็อยู่ตั้งแต่นิยามของ EV EBITDA นั่นเอง คือในชีวิตจริงก็ไม่มีใครทำธุรกิจแล้ว ไม่ลงทุนต่อ เอา EBITDA มาใช้ทั้งหมด ก็ต้องมีการลงทุนซ้ำเรื่อยๆเพื่อการเติบโต หรือแม้แต่ค่าเสื่อมเองก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งหมด เนื่องจากเมื่อสินทรัพย์หมดอายุการใช้งานไป ก็ต้องซื้อใหม่อยู่ดี ถ้าค่าเสื่อมที่ตัดไปเอาออกมาใช้ทั้งหมด ก็แสดงว่าจะไม่มีเงินซื้อสินทรัพย์ใหม่ บริษัทก็จะเจ้งไป
ค่า EV/EBITDA สามารถดูได้ใน factsheet ของตลาดหลักทรัพย์ครับผม ตลาดหลักทรัพย์คำนวณไว้ให้เรียบร้อย
จะเห็นว่า EBITDA เป้นกำไรตัวหนึ่งที่มีปประเด็นให้วิเคราะห์มากมาก ถ้าเรารู้ประเด็นต่างๆจะทำให้เราได้ประโยชน์มากครับ
☀หลักสูตรวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน☀
✅เจาะลึกหุ้นอย่างเซียน เห็นผลจริง100% สไตร์ อ.ภัทร
✅Workshop !! ทำจริง เห็นผลจริง พิสูจน์ได้
✅เรียนคลาสเล็ก ถามได้ทุกคำถามคาใจ
☀เรียนแล้วได้อะไร☀
✅10 จุุดสำคัญอ่านงบการเงิน วิเคราะห์ธุรกิจไม่เสียเวลา
✅ปัจจัยเร่ง ให้หุ้นวิ่ง และสัญญาณยืนยันในงบการเงิน
✅ประมาณราคาเหมาะสม เห็นเป้าราคาหุ้นตั้งแต่วันที่ซื้อ
✅เคล็ดลับสแกนหุ้น ถูก ดี กำไรโต
🔈สอนโดย อ ภัทรธร ช่อวิชิต
นักลงทุนอิสระ เจ้าของผลงานหนังสือ คุ้ยแคะแกะหุ้นเด้ง และเจาะหุ้นร้อนสแกนหุ้นเด้ง
=======================================
🔈รายละเอียดหลักสูตร วันเวลา
www.investidea.in.th/p/value-investor.html
=======================================
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
มือถือ: 0865035023
ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/
line id; pat4310
=======================================
☀เนื้อหาหลักสูตร☀
✅แหล่งข้อมูลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน งบการเงิน คำอธิบายงบ ตัวเลขเศรษฐกิจ
✅วิเคราะห์ ปัจจัยเชิงคุณภาพ ผลกระทบต่องบการเงิน และแนวโน้มราคา
✅โครงสร้างงบดุล และลักษณะธุรกิจ จุดสำคัญที่ต้องดูในงบการเงิน
✅งบกำไรขาดทุน ลักษณะงบการเงินที่ดี
✅งบกระแสเงินสด และความสัมพันธ์กับวงจรธุรกิจ
✅การค้นปัญหาธุรกิจใน 1 นาที ด้วยอัตราส่วนทางการเงิน
✅ปัจจัยทางการเงินที่มีผลต่อทิศทางราคาหุ้น
✅การประเมินมูลค่าหุ้นด้วย PE ratio เทคนิคการใช้งานกับแต่ละอุตสาหกรรม
✅ดูความเห็นของนักลงทุนส่วนใหญ่ผ่านการเคลื่อนไหวของราคา
=======================================
☎ติดต่อสอบถามและลงทะเบียน (รับจำนวนจำกัด)
มือถือ: 0865035023
ข้อความ; www.facebook.com/messages/investidea.in.th/
line id; pat4310
ที่มา:
[1]board.thaivi.org/viewtopic.php?f=20&t=50531
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
สงสัยอะไรถามได้ครับผม